พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน

พระเจ้าซ็องจง (เกาหลี: 성종, ฮันจา: 成宗, MC: Seongjong, MR: Sŏngchong ค.ศ. 1457 - ค.ศ. 1495) เป็นพระมหากษัตริย์​เกาหลี​รัชกาล​ที่​ 9 ของราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1469 - 1494) พระเจ้าซ็องจง มีพระนามเดิมคือ องค์ชายจาซาน (자산군, 者山君) พระราชสมภพเมื่อค.ศ. 1457 เป็นพระโอรสขององค์ชายรัชทายาทอีกยอง (의경세자, 懿敬世子) และพระชายาซูบิน ตระกูลฮัน แต่ทว่าพระราชบิดาก็ได้สิ้นพระชนม์ไปในปีเดียวกัน องค์ชายแฮยางพระอนุชาขององค์ชายรัชทายาทอีกยองจึงได้เป็นองค์ชายรัชทายาทแทน และขึ้นครองบัลลังก์เมื่อค.ศ. 1468 เป็นพระเจ้าเยจง (예종, 睿宗) ในค.ศ. 1467 องค์ชายจาซานทรงเปลี่ยนพระนามเป็น องค์ชายจัลซาน (잘산군, 乽山君) และอภิเษกกับธิดาของฮันมยองฮี (한명회, 韓明澮) คือ พระชายาชอนฮัน ตระกูลฮัน (천안군부인, 天安郡夫人 ภายหลังเป็น พระมเหสีคงฮเย (공혜왕후, 恭惠王后)) แต่พระเจ้าเยจงก็อยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานสวรรคตไปเสียก่อนในค.ศ. 1469 โดยที่ทรงเหลือพระโอรสพระชนมายุสี่ชันษาไว้ คือ องค์ชายเจอัน (제안대군, 齋安大君) พระมเหสีจองฮี หรือ พระพันปีจาซ็อง ร่วมกับชินซุกจู (신숙주, 申淑舟) และฮันมยองฮี ได้ตัดสินพระทัยว่าองค์ชายเจอันนั้นพระชนมายุน้อยเกินกว่าจะเป็นกษัตริย์ และยกราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสองค์โตขององค์ชายรัชทายาทอีกยอง คือองค์ชายโวลซาน (월산군, 月山君) แต่พระองค์นั้นมีพระพลานามัยไม่สู้ดีนัก จึงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาขององค์ชายโวลซาน คือ องค์ชายจัลซานองค์ชายจัลซานจึงขึ้นครองราชสมบัติด้วยพระชนมายุเพียงสิบสามพระชันษา และมีพระอัยยิกาจาซ็อง (자성대왕대비, 慈聖大王大妃 เป็นผู้ว่าราชการแทนหลังม่าน (수렴청정, 垂簾聽政) พระเจ้าซ็องจงในต้นรัชกาลนั้นทรงเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิด อำนาจทั้งหมดตกแก่ชินซุกจู และฮันมยองฮี ซึ่งเป็นขุนนางที่มีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเซโจพระอัยกาของพระเจ้าซ็องจง และเป็นผู้ผลักดันให้พระเจ้าซ็องจงได้เป็นกษัตริย์ในที่สุด พระเจ้าซ็องจงสถาปนาพระราชบิดาองค์ชายรัชทายาทอีกยอง เป็น พระเจ้าทอกจง (덕종, 德宗) และพระชายาซูบินพระราชมารดาเป็น พระพันปีอินซู (인수대비, 仁粹大妃) ในค.ศ. 1474 กฎหมายประจำอาณาจักรหรือคยองกุกแดจอน (경국대전, 經國大典) ที่ชำระมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าเซโจก็ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อพระเจ้าซ็องจงขึ้นครองราชย์ได้มีการปูนบำเน็จขุนนางผู้มีความดีความชอบ (공신, 功臣) ซึ่งขุนนางกลุ่มนี้มีอภิสิทธิ์หลายอย่างและมีทรัพย์สินร่ำรวย[1] รวมทั้งดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงของระบอบการปกครอง เรียกว่า กลุ่มขุนนางเก่า (훈구파, 勳舊派) ซึ่งมีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเซโจ เหตุการณ์ที่พระเจ้าเซโจทรงแย่งราชบัลลังก์มาจากพระเจ้าทันจงและกวาดล้างขุนนางที่ต่อต้านทำให้เกิดนักปราชญ์ขึ้นกลุ่มใหม่ ที่ต้องลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ตามป่าเขาถูกกีดกันจากวงราชการ เรียกว่า กลุ่มซาริม (사림파, 士林派) เมื่อพระเจ้าซ็องจงมีพระชนมายุครบยี่สิบชันษาเมื่อค.ศ. 1476 ทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองและทรงดึงขุนนางกลุ่มซาริม นำโดยคิมจงจิก (김종직, 金宗直) เข้ามารับราชการในสามกรม (삼사, 司) เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มขุนนางเก่า พระเจ้าซ็องจงได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ตามแบบของลัทธิขงจื้อพระองค์แรกของราชวงศ์โจซ็อน ในรัชสมัยของพระองค์เกาหลีได้กลายเป็นสังคมขงจื้ออย่างเต็มตัว ในค.ศ. 1478 ทรงตั้งฮงมุนกวาน (홍문관, 弘文館) [2] ไว้เป็นสถานศึกษาและห้องสมุดคล้ายกับจีพยอนจอนของพระเจ้าเซจงมหาราช ฮงมุนกวานเมื่อรวมกับซากันวอน (사간원, 司諫院) และซาฮอนบู (사헌부, 司憲府) แล้วเรียกว่า สามกรม[3] เป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบการทำงานของขุนนางผู้ใหญ่กลุ่มขุนนางเก่า หรือแม้แต่องค์กษัตริย์เอง และเป็นที่สำหรับขุนนางกลุ่มซาริมที่จะเข้ามามีบทบาทในราชสำนัก[4] พระเจ้าซ็องจงยังดำเนินนโยบายกดขี่พระพุทธศาสนาโดยการห้ามสร้างวัดและห้ามมิให้พระภิกษุเข้าเมืองฮันซ็อง พระเจ้าซ็องจงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอและไร้ความเด็ดขาด ในราชบัลลังก์ของพระองค์เอง และอำนาจของพระองค์ ทรงถูกบั่นทอนลงอย่างมาก จากเหล่าขุนนางของพระองค์เอง และยังถูกแทรกแซงจาก พระพันปีอินซู อีกด้วยพระมเหสีจากตระกูลยุน ในอดีตเคยเล่นผูกพันและรักกับพระเจ้าซ็อนจงแต่เด็ก ทว่าถูกกำแพงชนชั้นปิดกั้นด้วยเหตุผลทางชนชั้นและครอบครัวกล่าวคือบิดาของพระมหสีถูกใส่ร้ายว่าเป็นกบฏ ตำแหน่งของบิดาพระมเหสีในตอนนั้นคือเจ้ากรมการศึกษาซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีในปัจจุบัน ครอบครัวของพระมเหสีจึงแทบถูกเนรเทศ ส่วนทางครอบครัวพระเจ้าซ็องจงตอนนั้นแม้เป็นเพียงองค์ชายและยังไม่ได้อยู่ในวังแต่พระราชมารดาไม่โปรดที่พระเจ้าซ็องจงออกไปเล่นและพบปะเช่นนั้น ต่อมาพระมเหสียุนเข้าวังโดยการถวายตัวเป็นนางในแต่พระเจ้าซ็องจงทรงลืมไปแล้วด้วยผ่านมาหลายสิบปี แต่ฟื้นความจำได้เพราะเคยหักตราหยกมอบให้พระมเหสีครึ่งนึงและเก็บไว้อีกครึ่งหนึ่ง พระมเหสีจึงได้เป็นพระสนมและเป็นพระมเหสีเพราะได้ให้ประสูติพระโอรสเมื่อ ค.ศ. 1476 ซึ่งพระเจ้าซ็องจงสถาปนาขึ้นเป็นองค์ชายรัชทายาท พระมเหสียุน เป็นพระมเหสีที่มีอุปนิสัยอ่อนโยนและเป็นมิตรกับทุกๆคนเช่นเดียวกับมเหสีซุกยอน แต่เนื่องด้วยพระองค์เป็นมเหสีที่เคร่งครัดในกฎระเบียบและมีความตรงไปตรงมาเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่ไม่พอใจของเหล่าพระสนมเท่าไรนัก เนื่องจากพระสนมหลายคนไม่ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบของฝ่ายในจึงมักถูกลงโทษจากพระมเหสีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เหล่าสนมไม่พอใจและร่วมมือกันใส่ร้ายพระมเหสียุนต่างๆ นานา ประกอบกับพระมเหสียุนทรงมีเรื่องบาดหมางพระทัยกับพระเจ้าซ็องจงในเรื่องชู้สาวและการเสด็จออกเที่ยวกลางคืน รวมถึงเรื่องกับพระพันปีอินซู พระราชมารดาพระเจ้าซ็องจง จนถึงขั้นทำให้พระพักตร์ของพระเจ้าซ็องจงได้รับบาดเจ็บเนื่องด้วยความหึงหวง เหตุเกิดจากระหว่างที่พระนางท้องพระเจ้าซ็องจงทำตัวเหลวไหลออกเสพกามโลกีย์นอกวังกับนางโลมชื่อ "ออลูตง"[ต้องการอ้างอิง] พระมเหสียุนผู้เคร่งครัดกฎระเบียบยอมแหกกฎปลอมตัวออกนอกวังเพื่อไปขอร้องออลูตงให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับพระเจ้าซ็องจงถึงขึ้นลดตัวลงไปคำนับ เมื่อพระเจ้าซ็อนจงกลับเข้าวัง พระมเหสีผู้ทรงพระครรภ์จำเอามือพยายามจะเข้ากอดพระเจ้าซ็องจงที่เดินหนีแต่พระเจ้าซ็องจงผลักพระมเหสีที่ทรงพระครรภ์ พระมเหสีพยายามใช้มือที่ถือตราหยกเกาะเพื่อไม่ให้ล้มลงและกระทบกระเทือนถึงลูกที่อยู่ในท้อง จึงเอื้อมมือไปเกาะสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดจึงทำให้พระพักตร์ของพระเจ้าซ็องจงมีบาดแผลเล็กน้อย แต่ทว่าเหตุการณ์นี้นำมาซึ่งเหตุให้พระนางถูกปลดออกจากตำแหน่งและเนรเทศออกนอกวัง และเมื่อเสด็จออกไปอยู่นอกวังแล้ว พระนางก็ยังถูกใส่ร้ายเช่นเดิมและด้วยความเข้าใจผิดของพระพันปีอินซู จึงได้มีพระเสาวนีย์ให้ประทานยาพิษแก่อดีตพระมเหสียุนจนสิ้นพระชนม์ไปในที่สุด โดยที่พระเจ้าซ็องจงมิได้ช่วยอะไรเลยนอกจากนี้ยังเป็นผู้ลงตราในราชโองการะประหารพระมเหสียุนด้วยยาพิษที่ทำให้ทรมานและกระอักเลือดตายอย่างช้าๆในที่สุด พระเจ้าซ็องจงสวรรคตเมื่อค.ศ. 1495 มีพระสุสานชื่อว่า ซ็อนรึง (선릉, 宣陵)

พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน

พระราชบุตร เจ้าชายย็อนซัน,พระเจ้าจุงจง
ราชวงศ์ โชซ็อน
ก่อนหน้า พระเจ้าเยจง
ครองราชย์ 31 ธันวาคม พ.ศ. 201225 ธันวาคม พ.ศ. 2037
พระราชมารดา พระพันปีอินซู
พระราชบิดา องค์ชายรัชทายาทอึยคยอง
สวรรคต 19 มกราคม พ.ศ. 2038
พระนามเต็ม
พระนามเต็ม
พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน
ถัดไป เจ้าชายย็อนซัน
ประสูติ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2000
ลี ฮยอล (이혈, 李娎)
มเหสี พระมเหสีคยองเฮ,
อดีตพระมเหสีแจฮยอน,
พระมเหสีจองฮย็อน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ