พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี[1] (26 ตุลาคม พ.ศ. 2363 - 26 มกราคม พ.ศ. 2409) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2363พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าอรรณพ (บางแห่งสะกดว่าอรนพ) เป็นพระราชโอรสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้สืบต่อราชสมบัติ ซึ่งครั้งหนึ่งมีพระราชประสงค์จะมอบสัญลักษณ์แห่งการสืบราชบัลลังก์ คือพระประคำทองคำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ก็เกิดการหยิบผิดหรือสับเปลี่ยน นำพระประคำองค์ปลอมไปถวาย ว่ากันว่าเป็นลางให้พระองค์เจ้าอรรณพต้องพลาดจากราชบัลลังก์ไป ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้มีบันทึกไว้ดังนี้[2]"ในวันอังคาร เดือน 11 ขึ้น 6 ค่ำนั้น มีรับสั่งให้ภูษามาลาเชิญหีบพระเครื่องมาถวาย แล้วทรงเลือกพระประคำทองสาย 1 อันเป็นของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระประคำทองสายนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต จะพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ ซึ่งได้เป็นกรมหมื่นอุดมรัตนราศีในรัชกาลที่ 4 แต่บังเอิญเจ้าพนักงานหยิบผิดสาย กรมหมื่นอุดมไม่ได้ไป จึงถือว่าเป็นของสิริมงคลสำหรับแต่ผู้มีบุญญาภินิหาร) กับพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์ 1 ให้พระราชโกษา (ชื่อ จัน ในรัชกาลที่ 5 เป็นพระยา เป็นบิดาพระยาอุทัยธรรม (หรุ่น วัชโรทัย)) เชิญตามเสด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ไปพระราชทานสมเด็จเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเสด็จออกมาทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และบอกให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ซึ่งพร้อมกันอยู่ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้ทราบตามกระแสรับสั่ง กรมหลวงวงศาธิราชสนิทและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ก็ไปยังพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้วยเวลานั้นปิดความไม่ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯทรงทราบว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถประชวรพระอาการมาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ จึงแนะพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีให้ทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ ว่าของทั้ง 2 สิ่งนั้นพระราชทานเป็นของขวัญ โดยทรงยินดีที่ได้ทรงทราบว่าพระอาการ ที่ประชวรค่อยคลายขึ้นเมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีไปทูล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ดำรัสถามว่า ของขวัญเหตุใดจึงพระราชทานพระประคำ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย แต่ก็ไม่มีผู้ใดทูลตอบว่ากระไร เมื่อถวายสิ่งของแล้วต่างก็กลับมา"ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมหมื่นอุดมรัตนราศี[3] และในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำนำพระนามว่าพระเจ้าบรมวงษ์เธอ[4]พระองค์ได้ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่งขึ้น แต่พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนที่วัดจะแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริให้สร้างต่อ พร้อมทั้งพระราชทานเงินช่วยถึง 1,000 ชั่ง เมื่อวัดแล้วเสร็จพระองค์จึงพระราชทานชื่อวัดว่า "วัดมหรรณพารามวรวิหาร"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเป็นง่อย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลอรรณพ[5] ทรงมีพระโอรสพระธิดาดังนี้1.หม่อมเจ้าใหญ่ อรรณพ (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม พ.ศ. 2406)2.หม่อมเจ้าเกียรติคุณ อรรณพ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438)3.หม่อมเจ้าพรประสิทธิ์ อรรณพ (ประสูติ พ.ศ. 2430 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2443 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2444)4.หม่อมเจ้าอมรอำนวยวงศ์ อรรณพ (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง พ.ศ. 2455) ทรงเสกสมรสกับหม่อมศิลา อรรณพ ณ อยุธยา มีธิดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิงเลื่อน อรรณพ5.หม่อมเจ้าหญิงจริตอัปสร อรรณพ หรือ หม่อมเจ้าหญิงอัปศร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงอักษร6.หม่อมเจ้าเจตกูล อรรณพ (พระราชทานเพลิง ณ วัดตรีทศเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2445)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

ราชวงศ์ จักรี
พระบุตร 6 พระองค์
พระมารดา เจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 3
สิ้นพระชนม์ 26 มกราคม พ.ศ. 2409
ประสูติ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2363
พระบิดา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ