พระราชประวัติ ของ พระเจ้าประตาปสิงห์_ศาหะ

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะกับพระนางนเรนทราลักษมีศาหะ หลังจากพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2318 เจ้าชายประทับสิงห์ พระราชโอรสองค์โตทรงครองราชย์สืบต่อ

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะแม้จะทรงได้เป็นกษัตริย์แต่พระองค์ยังทรงระแวงว่าจะมีเจ้านายพระองค์อื่นแย่งชิงราชบัลลังก์ของพระองค์ พระองค์ได้ดำเนินการกวาดล้างโดยทรงสั่งจับกุมพระปิตุลาพระองค์หนึ่งและเจ้าชายบะหะดูร์ศาหะ พระอนุชาแท้ของพระองค์ คุมขังหลังจากทรงทราบว่าทั้งสองพระองค์วางแผนก่อตั้งราชอาณาจักรเล็ก ๆ เป็นของพระองค์เอง ต่อมามีพระบัญชาให้เนรเทศเจ้านายทั้งสองออกนอกประเทศ โดยทั้งสองเสด็จลี้ภัยที่อินเดีย[4] ปัญหาที่พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะทรงก่อกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวภายในราชวงศ์ที่เรื้อรังในเวลาต่อมา

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ

มูลเหตุแห่งปัญหาคือ พระนางราเชนทราลักษมีศาหะ องค์รานีพระอัครมเหสีของพระองค์ ที่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสตามความเหมาะสม แต่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับสตรีจากเผ่าเนวาร์นามว่า มาอิจู ทรงหลงใหลนางมากถึงกับสถาปนานางขึ้นเป็นองค์รานีหรือพระนางมาอิจูศาหะ พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะทรงหลงใหลพระนางมากถึงกับไม่ออกว่าราชการ รานีราเชนทรงทรงริษยารานีมาอิจูมากโดยเฉพาะเมื่อทรงทราบว่ารานีมาอิจูทรงพระครรภ์ พระนางจึงหวั่นว่าฐานะของพระนางถูกสั่นคลอน ในขณะนั้นรานีราเชนทรามีพระประสูติกาลเจ้าชายราณาพหาทูรศาหะ พระโอรสพระชนมายุ 2 ชันษาแล้ว[5]

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะไม่ทรงสานต่อนโยบายรวมชาติต่อจากพระราชบิดาแต่ในเวลาต่อมาเจ้าชายบะหะดูร์ศาหะพระอนุชาของพระองค์ หลังจากพ้นโทษทัณฑ์หลังการสวรรคตของพระเชษฐาได้สานต่อนโยบายนี้และขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันหลังจากประชวรด้วยไข้ทรพิษในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320 ราชบัลลังก์ที่ว่างลงได้สืบต่อโดยเจ้าชายราณาพหาทูรศาหะ เป็นพระเจ้ารณพหาทุร ศาหะ พระชนมายุ 2 พรรษา รานีราเชนทราลักษมีในฐานะพระราชชนนีของยุวกษัตริย์ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงใช้พระราชอำนาจกำจัดศัตรุทุกคนของพระองค์ รานีราเชนทราทรงปล่อยให้รานีมาอิจูมีพระประสูติกาลพระโอรสนามว่า เชร์ บะหะดูร์ หลังจากนั้นมีพระราชเสาวนีย์ให้ทหารจับกุมองค์รานีมาอิจูออกจากพระราชวังและบังคับให้พระนางกระทำพิธีสตี พระนางสิ้นพระชนม์ในกองเพลิง หลังจากนั้นรานีราเชนทราทรงกุมพระราชอำนาจทางการเมืองและกลายเป็นปัญหาในรัชกาลต่อมา[6]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ