หายนะและการสังหารหมู่พระราชวงศ์ ของ พระเจ้าฟัยศ็อลที่_2_แห่งอิรัก

รูปแบบของฝ่ายต่อต้าน

มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์แห่งอิรักขณะเสด็จเยือนเมานต์เวอร์นอน สหรัฐอเมริกา ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยของพระนัดดา ต่อมาทรงถูกปลงพระชนม์พร้อมพระราชวงศ์ในการปฏิวัติ 14 กรกฎาคม

สถานการณ์ทางการเมืองของพระเจ้าฟัยศ็อลเริ่มเลวร้ายลงในปีพ.ศ. 2499 ด้วยการลุกฮือของประชาชนในเมืองนะจัฟและฮะวี ขณะที่กองทัพอิสราเอลโจมตีอียิปต์ในกรณีวิกฤติการณ์สุเอซ โดยการร่วมมือกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสซึ่งตอบโต้นโยบายชาตินิยมของญะมาล อับดุนนาศิรแห่งอียิปต์ ความนิยมที่ย่ำแย่ลงในแผนแบกแดดก็ดีหรือการปกครองของพระเจ้าฟัยศ็อลก็ดี ฝ่ายต่อต้านได้เริ่มการเคลื่อนไหว ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2500 ก่อตั้ง "ด่านหน้าสหภาพแห่งชาติ" (Front of National Union) ดำเนินการร่วมกันกับกลุมประชาธิปไตยแห่งชาติ, กลุ่มอิสรภาพ, คอมมิวนิสต์และพรรคบาธ กลุ่มดำเนินการที่เหมือนกันได้ดำเนินการแทรกแซงอย่างใกล้ชิดภายในเจ้าหน้าที่อิรัก ด้วยการก่อตั้ง "คณะเสนาธิการทหารอิสระสูงสุด" (Supreme Committee of Free Officers) คณะรัฐบาลของพระเจ้าฟัยศ็อลได้พยายามรักษาความจงรักภักดีในกองทัพโดยผ่านทางสวัสดิการต่างๆ แต่วิธีนี้ให้ผลที่ไม่ยั่งยืนมากเมื่อกองทัพเห็นด้วยกับพวกต่อต้านระบอบกษัตริย์

ปฏิวัติ 14 กรกฎาคมและการปลงพระชนม์หมู่พระราชวงศ์อิรัก

ดูบทความหลักที่: ปฏิวัติ 14 กรกฎาคม

ในฤดูร้อน พ.ศ. 2501 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนส่งขอความช่วยเหลือทางการทหารกับอิรักในช่วงวิกฤตการณ์เลบานอน พ.ศ. 2501 ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น กองทหารภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิมได้กำหนดเดินทัพไปที่จอร์แดนแต่ได้หันกลับมาที่กรุงแบกแดด ซึ่งได้กระทำการรัฐประหารปฏิวัติในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในระหว่างการปฏิวัติ 14 กรกฎาคม กองทัพนำโดยพันเอกอับดุล ซะลาม อะริฟและพลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิมได้เข้ายึดกรุงแบกแดดภายใต้การช่วยเหลือของพันเอกอิบด์ อัล-ละทิฟ อัล-ดะร์ระจี ในช่วงเช้าตรู่กองกำลังของอะริฟได้เข้ายึดสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และได้แถลงการณ์คณะปฏิวัติครั้งแรกความว่า "....ล้มล้างจักรวรรดินิยมและกลุ่มพรรคพวกในคณะเจ้าหน้าที่ ประกาศสาธารณรัฐใหม่และจุดจบยุคสมัยเก่า.... ประกาศสภาชั่วคราวแห่งสามสมัชชาเพื่อรับรองอำนาจประธานาธิบดีและสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ต่อไป"[4]

จากนั้นอะรีฟได้ส่งกองทหารสองกอง กองแรกมุ่งหน้าไปยังพระราชวังอัล-ราฮับเพื่อกราบทูลพระเจ้าฟัยศ็อลและมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ให้ทรงทราบถึงการปฏิวัติ อีกกองหนึ่งมุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรีนูรี อัสซะอีด เมื่อกองทัพมาถึงพระราชวัง พระเจ้าฟัยศ็อลมีพระบัญชาให้ทหารกรมวังวางอาวุธเพื่อไม่ให้ชาวอิรักต้องหลั่งเลือด และพระองค์ทรงยอมจำนนต่อฝ่ายต่อต้านด้วยพระองค์เอง แม้ว่าไม่มีรายงานใดๆถึงจำนวนกองกำลังที่บุกเข้าไปในพระราชวัง

พลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ผู้นำการปฏิวัติ 14 กรกฎาคมและเป็นผู้สั่งปลงพระชนม์พระบรมวงศานุวงศ์

ในเวลา 8.00 น. หัวหน้ากองทหาร อับดุล ซัททาร์ ซะบาอะ อัล-อิโบซี ได้นำกองทัพปฏิวัติเข้าทำร้ายข้าราชสำนักในพระราชวัง มีคำสั่งกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ได้แก่ พระเจ้าฟัยศ็อล, มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์, เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมารและเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์), สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์), เจ้าหญิงคะดิยะห์ อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์) และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่งให้เสด็จลงมายังลานสนามในพระราชวังพร้อมๆกัน จากนั้นมีคำสั่งให้ทุกพระองค์หันพระองค์เข้ากับกำแพง ที่ซึ่งทุกพระองค์ถูกกราดยิงด้วยปืนกลในทันที ร่างของทั้งห้าพระองค์ร่วงลงพื้นสนามพร้อมกับร่างของข้าราชบริพาร พระเจ้าฟัยศ็อลยังไม่สวรรคตในทันทีหลังการระดมยิงครั้งแรก ทรงถูกนำพระองค์ส่งโรงพยาบาลโดยผู้จงรักภักดีแต่ก็เสด็จสวรรคตระหว่างทาง สิริพระชนมายุ 23 พรรษา เจ้าหญิงฮิยามทรงรอดพระชนม์ชีพจากการปลงพระชนม์หมู่มาได้แต่ก็ทรงพระประชวรอย่างสาหัสจากการระดมยิงและทรงถูกผู้จงรักภักดีพาพระองค์เสด็จออกนอกประเทศ พระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ถูกลากไปตามถนนและถูกตัดเป็นชิ้นๆ ข่าวการปลงพระชนม์หมู่เกี่ยวกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ได้มีการรายงานว่า "ประชาชนนักปฏิวัติโยนพระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ลงบนถนนดั่งเช่นสุนัขและฉีกพระศพออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นพวกเขาก็ทำการเผาพระศพ"[5] ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรักและเป็นโศกนาฏกรรมของระบอบกษัตริย์ 37 ปีในอิรัก

นายกรัฐมนตรีนูรี อัสซะอีดก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากที่นูรีทราบข่าวการปลงพระชนม์พระบรมวงศานุวงศ์ เขาได้พยายามหลบหนี พลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิมได้ประกาศมอบรางวัลจำนวน 10,000 ดินาร์แก่ทหารที่สามารถจับตัวนูรีได้[6]และได้มีการค้นหาตัวครั้งใหญ่ ในวันที่ 15 กรกฎาคม นูรีได้ถูกจับตัวได้ที่เขตอัล-บัทตาวินในแบกแดดซึ่งพยายามหนีโดยปลอมตัวเป็นผู้หญิงสวมใส่อาบายา (ชุดคลุมยาวของสตรีอิสลาม) นูรีและผู้ติดตามได้ถูกยิงถึงแก่อสัญกรรมทันที ม็อบหัวรุนแรงได้ทำการไล่ล่าสังหารชาวต่างชาติทุกคนทั่งแบกแดด จนพลเอก กอซิมต้องประกาศเคอร์ฟิว

ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างอย่างเป็นทางการ และประเทศถูกเข้าควบคุมแบบไตรภาคีภายใต้ "สภาปกครอง" ประกอบด้วยผู้แทนอิรักจากสามกลุ่มชาติพันธุ์หลัก ความไม่เสถียรภาพทางการเมืองระยะยาวได้ทวีความรุนแรงขึ้นและถึงจุดสูงสุดเนื่องจากชัยชนะของพรรคบาธในปีพ.ศ. 2511 ที่ซึ่งเป็นการก้าวขึ้นสู่อำนาจของซัดดัม ฮุสเซน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าฟัยศ็อลที่_2_แห่งอิรัก http://www.bitsofnews.com/content/view/3929/42/ http://www.chiefacoins.com/Database/Countries/Fais... http://www.s9.com/Biography/Faisal-II http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.wesjones.com/lawrence1.htm http://4dw.net/royalark/Iraq/iraq2.htm https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Feisal...