พระเจ้าฟีลิปที่_1_แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าฟีลิปที่_1_แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าฟีลิปที่_1_แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (อังกฤษ: Philip I of France หรือ Philip the Amorous[1] หรือ ฝรั่งเศส: Philippe I de France) (23 พฤษภาคม ค.ศ. 1052 - 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1059 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108 รัชสมัยของพระองค์ก็เช่นเดียวกับรัชสมัยของกษัตริย์ของราชวงศ์กาเปเตียงเป็นรัชสมัยที่ยืดยาว พระองค์ทรงได้รับราชบัลลังก์ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากสมัยที่ตกต่ำของพระราชบิดาและทรงได้ดินแดน เวอแซ็ง (Vexin) และ บูร์ก (Bourges) เข้ามาเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พระเจ้าฟีลิปที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1052 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและอานแห่งเคียฟ (Anne of Kiev) พระนามของพระองค์มาจากภาษากรีก “Philippos” ที่แปลว่า “ผู้รักม้า” ซึ่งเป็นชื่อที่แปลกสำหรับยุโรปตะวันตกในขณะนั้น เป็นชื่อที่ได้รับพระราชมารดาผู้ทรงมาจากยุโรปตะวันออก ฟีลิปขึ้นครองราชสมบัติเมื่อมีพระชนมายุได้ 7 พรรษา[2] โดยมีพระราชมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนพระชนมายุได้ 14 พรรษาในปี ค.ศ. 1066 อานแห่งเคียฟจึงเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสองค์แรกที่ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อานทรงเป็นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับบอลด์วินที่ 5 เคานต์แห่งแฟลนเดอร์ส (Baldwin V, Count of Flanders) พระเจ้าฟีลิปอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเบอร์ธาแห่งฮอลแลนด์บุตรีของฟลอริสที่ 1 เคานต์แห่งฮอลแลนด์ (Floris I, Count of Holland) ในปี ค.ศ. 1072 แม้ว่าจะมีพระราชโอรสที่เป็นรัชทายาทตามพระราชประสงค์ แต่พระเจ้าฟีลิปทรงหันไปหลงรักกับแบร์ทราด เดอ มงฟอร์ ภริยาของฟุลก์ที่ 4 เคานต์แห่งอ็องชู (Fulk IV, Count of Anjou) พระองค์จึงทรงหย่ากับเบอร์ธาแห่งฮอลแลนด์โดยทรงกล่าวหาว่าเบอร์ธาอ้วนเกินไป พระเจ้าฟีลิปทรงเสกสมรสกับเบอร์เทรด์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1092 ในปี ค.ศ. 1094 พระองค์ทรงถูกตัดขาดจากศาสนา (excommunicate) โดยอูกแห่งดี (Hugh of Die) อาร์ชบิชอปแห่งลียงเป็นครั้งแรก หลังจากไม่มีข่าวอะไรอยู่เป็นเวลานานสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ก็ทรงประกาศคว่ำบาตรเป็นครั้งที่สองในสภาสังคายนาแห่งแคลร์มง (Council of Clermont) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1095 การคว่ำบาตรถูกยกเลิกหลายครั้ง เมื่อพระเจ้าฟีลิปทรงสัญญาว่าจะหันหลังให้แบร์ทราด แต่ทุกครั้งพระองค์ก็ทรงกลับไปหาแบร์ทราด หลังจากปี ค.ศ. 1104 ก็ไม่มีการคว่ำบาตรอีก ในฝรั่งเศสเองอีโวแห่งชาร์ตร์ (Ivo of Chartres) อาร์ชบิชอปแห่งชาร์ตร์ก็ต่อต้านพระเจ้าฟีลิปสังคายนาแห่งแคลร์มงต์เป็นจุดเริ่มของสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เมื่อเริ่มแรกพระเจ้าฟีลิปก็มิได้ทรงสนับสนุนเพราะทรงมีความขัดแย้งกับสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และถึงอย่างไรก็ตามพระสันตะปาปาเออร์บันก็ไม่ทรงสามารถให้พระเจ้าฟีลิปเข้าร่วมได้เพราะทรงไปประกาศคว่ำบาตรในสภาการประชุมแต่อูกที่ 1 แห่งแวร์ม็องดัว (Hugh I of Vermandois) พระอนุชาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเข้าร่วมสงครามพระเจ้าฟีลิปเสด็จสวรรคตที่ปราสาทที่เมอเลิง (Melun) และทรงได้รับการบรรจุที่แซ็ง-เบอนัว-เซอร์-ลัวร์ (Saint-Benoît-sur-Loire) ไม่ใช่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีที่บรรจุพระมหากษัตริย์และพระประยูรญาติองค์อื่นๆ หลังจากการเสด็จสวรรคตแล้วพระราชโอรสก็ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งก็มิได้เป็นไปอย่างราบรื่นเพราะมีผู้ท้าทายสิทธิ ตามคำกล่าวของอธิการซูว์เฌแห่งแซ็ง-เดอนีที่ว่า:

พระเจ้าฟีลิปที่_1_แห่งฝรั่งเศส

พระราชบุตร พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
พระราชสมภพ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1052
ราชวงศ์ กาเปเตียง
พระปรมาภิไธย พระเจ้าฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
ครองราชย์ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1059 - 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108
รัชกาลถัดไป พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
รัชกาลก่อน พระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดา อานแห่งเคียฟ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระราชบิดา พระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
บรมราชาภิเษก 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1059
สวรรคต 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108
เมอเลิง, ในประเทศฝรั่งเศส
พระอัครมเหสี เบอร์ธาแห่งฮอลแลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
แบร์ทราด เดอ มงฟอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ