พระเจ้าหลวง

พระเจ้าหลวง หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน[1] และเป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติและยังดำรงพระชนม์อยู่ว่าพระเจ้าหลวง[2]เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร รวมทั้งทรงเครียดและเหน็ดเหนื่อยกับสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 จนถึงกับประชวรพระวาโยไป พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เคยได้ยินว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเรื่องสละราชสมบัติขณะยังมีพระชนม์ชีพ เพราะทรงคาดการณ์ไว้แล้วว่าพระองค์มิอาจทรงงานหนักได้อีกต่อไปเพราะทรงทุพพลภาพมากขึ้น ดังปรากฏความว่า[2]"ในปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงพระราชปรารภว่า เมื่อพระชนมายุครบ 60 พรรษาแล้วจะทรงสละราชสมบัติพระราชทานแก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รับราชภาระสืบสนองพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพระองค์ท่านจะเสด็จออกจากราชสมบัติเป็นพระเจ้าหลวง..."พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุแห่งกัมพูชา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา หลังทรงสละราชสมบัติแก่พระราชโอรส[3] หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 พระองค์ยังคงพระราชอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2" อยู่ (ซึ่งเหมือนกับในสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ภายหลังจากทรงสละราชสมบัติ ซึ่งยังคงเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม) "พระเจ้าหลวง" จึงเป็นบทบาทและสถานะมากกว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในพระนาม

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร