ฮันกึล ของ พระเจ้าเซจงมหาราช

ราชกิจอย่างแรกของพระเจ้าเซจงคือการก่อตั้งชิบฮย็อนจอน สำนักปราชญ์ขงจื้อที่เป็นแหล่งรวมผู้มีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาขงจื้อของประเทศ และยังเป็นแหล่งการศึกษาของนักปราชญ์ขงจื้อที่สำคัญอีกหลายท่านในอนาคต

ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานชาวเกาหลีไม่มีอักษรเป็นของตนเองแต่ใช้อักษรจีนที่รับมา เรียกว่าฮันจา ซึ่งอักษรจีนเป็นอักษรที่สลับซับซ้อนในการเขียน การเรียนรู้และการจดจำ ดังนั้นในสมัยโชซอนจึงมีแต่ยังบันที่เป็นชนชั้นขุนนางเท่านั้นที่เขียนฮันจาเป็น ชาวบ้านสามัญชนทั่วไปจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อีกทั้งอักษรจีนยังใช้แทนเสียงในภาษาเกาหลี ได้ไม่ลื่นนัก ใน พ.ศ. 1989 พระเจ้าเซจงจึงทรงให้นักปราชญ์และนักประดิษฐ์ชื่อ จางยองชิล เดิมเป็นทหารองครักษ์ แต่พระเจ้าเซจงทรงเล็งเห็นในความสามารถจึงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางขั้นชอง 3 พุม พระราชทานกำลังทรัพย์และอำนาจที่จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ จางยองชิลได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝน อันแรกของโลกในปี พ.ศ. 1984 และยังสร้างนาฬิกาน้ำ นาฬิกาแดด และลูกโลกจำลองท้องฟ้า สำหรับโหรหลวงใช้ในการศึกษาดวงดาว แต่ชางยองชิลนั้นได้รับการต่อต้านจากขุนนาง เพราะชางยองชิลเป็นชอนมิน ชนชั้นต่ำสุดในสังคมโชซอน ต่ำแหน่งสูง ๆ ของขุนนางสงวนไว้สำหรับยังบันเท่านั้น จนในที่สุดชางยองชิลก็ถูกปลดใน พ.ศ. 1985

พระเจ้าเซจงทรงเห็นถึงปัญหาของชาวนา ในการทำเกษตรกรรม แล้วไม่ได้ผล และได้รับความลำบากเมื่อน้ำท่วม หรือแห้งแล้ง จึงทรงให้มีการแต่งหนังสือนงซาจิกซอล รวบรวมความรู้ประสบการณ์ในการทำการเกษตรจากเกษตรกรอาวุโสทั่วอาณาจักร และยังทรงลดภาษีเกษตรกร เพื่อมิให้เกษตรกรต้องลำบากและมีทรัพย์ในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น [1]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ