พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ
พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (อังกฤษ: Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซกซ์พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี ทรงอภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟ์ธรีธทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวมุขนายกดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) กลับมาจากการลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นมุขนายกแห่งลอนดอนและในที่สุดอัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับการมีพระสนม[ต้องการอ้างอิง] เช่นวูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) ซึ่งได้ให้กําเนิดพระราชธิดานอกสมรส อีดจิธ แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาที่พระเจ้าเอ็ดการ์ไว้วางพระทัยตลอดรัชสมัยรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อนในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษาพระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นพระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ชายา เอเธลฟรีด[1]
วูลฟธริธ[1]
เอลฟ์ธรีธ
พระราชบุตร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี
อีดจิธ[1]
เอ็ดมันด์[2]
พระเจ้าแอเธลเรดผู้ไม่พร้อม
ราชวงศ์ เวสเซกซ์
ฝังพระศพ กลาสตันบรีแอบบีย์
ก่อนหน้า พระเจ้าเอ็ดวี
ครองราชย์ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975
พระราชมารดา เอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี
พระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
สวรรคต 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 (พระชนมายุประมาณ 31/32 พรรษา)
วินเชสเตอร์ แฮมป์เชอร์
ถัดไป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี
ประสูติ ค.ศ. 943 หรือ 944

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ