ความทะเยอทะยาน ของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่_1_แห่งอังกฤษ

เลโอนอร์แห่งกัสติยาพระมเหสีองค์แรกมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศสพระมเหสีองค์ที่สอง

เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดและเอลินอร์เสด็จกลับอังกฤษในปี ค.ศ. 1255 และทรงเริ่มแสดงความเป็นอิสระทางด้านการเมืองจากพระราชบิดามาตั้งแต่ปีนั้น โดยการทรงเลือกข้างในกรณีความขัดแย้งในแกสโคนีซึ่งเป็นนโบายที่ตรงกันข้ามกับพระราชบิดาที่มักจะทรงใช้การไกล่เกลี่ยประนีประนอม[20] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1258 กลุ่มขุนนาง 58 คนที่ไม่มีความพอใจต่อการปกครองของรัฐบาลก็ร่างเอกสารเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปต่อพระเจ้าเฮนรี – เอกสารที่รู้จักกันว่าบทบัญญัติออกซฟอร์ด (Provisions of Oxford) – ที่ส่วนใหญ่เป็นคำร้องต่อต้านกลุ่มขุนนางเชื้อสายฝรั่งเศสลูซิยอง เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงเข้าข้างลูซิยองและทรงเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อบทบัญญัติ แต่ขบวนการปฏิรูปประสบความสำเร็จ ความคิดเห็นของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงและในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1259 พระองค์ก็หันไปเป็นฝ่ายเดียวกับผู้นำการปฏิรูปริชาร์ด เดอ แคลร์ เอิร์ลที่ 6 แห่งกลอสเตอร์ (Richard de Clare, 6th Earl of Hertford) อย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1259 พระองค์ก็ทรงประกาศว่าทรงสนับสนุนจุดประสงค์ในการปฏิรูปของกลุ่มขุนนางและผู้นำซีมงแห่งมงฟอร์[21]

เบื้องหลังของการเปลี่ยนพระทัยของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดอาจจะเป็นเพียงเพื่อหาผลประโยชน์เท่านั้น เพราะไซมอนแห่งมองฟอร์ตอยู่ในฐานะที่จะสนับสนุนพระองค์ในเรื่องแกสโคนีได้[22] เมื่อพระเจ้าเฮนรีเสด็จไปฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายนเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดก็แข็งข้อโดยการประทานตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ให้แก่ขุนนางฝ่ายปฏิรูป พระเจ้าเฮนรีทรงเชื่อว่าพระราชโอรสมีแผนที่จะโค่นราชบัลลังก์ของพระองค์[23] หลังจากที่เสด็จกลับอังกฤษพระองค์ก็ไม่ทรงยอมให้เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดเข้าเฝ้า แต่ในที่สุดก็ทรงยอมเมื่อได้รับการไกล่เกลี่ยโดยเอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์และบอนนิเฟสแห่งซาวอยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี[24] ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1260 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดก็ถูกส่งตัวไปต่างประเทศ ซึ่งทำให้ทรงมีโอกาสได้ไปรวมตัวกับฝ่ายลูซิยองผู้ถูกเนรเทศกลับไปฝรั่งเศสอีกครั้ง[25]

เมื่อเสด็จกลับอังกฤษเมื่อต้นปี ค.ศ. 1262 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมีความขัดแย้งกับพันธมิตรของพระองค์ทางด้านการเงิน ปีต่อมาพระองค์ก็นำกองทัพไปรณรงค์ในเวลส์เพื่อกำราบลูวเวลลินกริฟฟุด (Llywelyn the Last หรือ Llywelyn ap Gruffydd) แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าใดนัก[26] ในขณะเดียวกันไซมอนแห่งมองฟอร์ตที่ออกไปจากอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1261 ก็กลับมาและมาฟื้นฟูขบวนการปฏิรูปของขุนนางขึ้นอีกครั้ง[27] พระเจ้าเฮนรีททรงยอมรับข้อเรียกร้องของขุนนางแต่เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด – ผู้หันมาเข้าข้างพระราชบิดา – ไม่ทรงยอมและหันกลับไปเข้ากับฝ่ายที่พระองค์เป็นปฏิปักษ์ในปีก่อนหน้านั้น – ที่ได้แก่เฮนรีแห่งอัลเมน และจอห์นแห่งวอเรน เอิร์ลแห่งเซอร์รีย์ที่ 7 – และทรงเข้ายึดพระราชวังวินด์เซอร์คืนจากกลุ่มผู้ปฏิวัติ[28] ทั้งสองฝ่ายจึงอัญเชิญให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงเป็นตุลาการในการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย ที่นำมาซึ่งความตกลงที่เรียกว่า “ข้อตกลงอาเมียง” (Mise of Amiens) โดยฝ่ายกษัตริย์เป็นฝ่ายได้เปรียบอันเป็นการปูรากฐานไปสู่ความขัดแย้งครั้งต่อไป[29]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่_1_แห่งอังกฤษ http://www.brepolsonline.net/doi/abs/10.1484/J.NMS... //doi.org/10.1093%2Fehr%2Fxcviii.ccclxxxviii.588 //doi.org/10.1111%2Fj.1468-2281.1985.tb01170.x //doi.org/10.2307%2F2847184 //doi.org/10.2307%2F2864011 //www.worldcat.org/oclc/1044503 //www.worldcat.org/oclc/3693188 //www.worldcat.org/oclc/408401 //www.worldcat.org/oclc/655056131 //www.worldcat.org/oclc/832154714