การเคลื่อนไหวในฐานะกษัตริย์ ของ พระเจ้าเฮนรีที่_1_แห่งอังกฤษ

ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตำแหน่งของตนของเฮนรีนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นในการบริหารปกครองแบบรวมศูนย์ ในฐานะกษัตริย์ เฮนรีปฏิรูปทางสังคมและระบบยุติธรรม ประกอบด้วย

  • การออกกฎบัตรแห่งเสรีภาพ
  • การฟื้นฟูกฎหมายของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1103 ถึง 1107 เฮนรีขัดแย้งกับอันเซล์ม อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี และพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 ในการโต้เถียงครั้งใหญ่เรื่องการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้ข้อสรุปในข้อตกลงลอนดอนในปี ค.ศ. 1107 ด้วยการประนีประนอม เฮนรียอมสละสิทธิ์ในการแต่งตั้งบิชอปกับพระอธิการ แต่เก็บธรรมเนียมที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งต้องถวายความเคารพต่อเจ้าของทรัพย์สินที่ดินในทางโลกไว้ ให้บิชอปถวายความเคารพและถวายตัวเป็นข้าราชบริพารตามระบอบศักดินาในพิธีการที่เรียกกันว่า คอมเมนดาติโอ พิธียกย่องสรรเสริญ เหมือนกับข้าราชบริพารในทางโลก การโต้เถียงครั้งรุนแรงที่คล้ายกันว่าใครมีอำนาจในการแต่งตั้งบาทหลวงชั้นสูงและตำแหน่งอื่นๆ ทางโบสถ์เกิดขึ้นระหว่างพระสันตะปาปากับกษัตริย์หลายคนตลอดช่วงยุคนี้ กษัตริย์ขายการแต่งตั้ง เนื่องจากหลายตำแหน่งทำเงินให้มากมาย การปฏิรูปเกรกอเรียนเกิดขึ้นเพื่อยับยั้งการขายตำแหน่งทางศาสนา และเพื่อลดการแทรกแซงกิจการของโบสถ์

เฮนรียังเป็นที่รู้จักในด้านความโหดเหี้ยม พระองค์เคยโยนชาวเมืองที่ทรยศชื่อโคนัน พิลาตุสลงมาจากหอคอยแห่งรูอ็อง หอคอยที่ตั้งแต่นั้นมารู้จักกันในชื่อ "การกระโดดของโคนัน" อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1119 ลูกเขยของเฮนรี ยูซตาสแห่งแปซีกับราล์ฟ ฮาร์เนค ขุนวังแห่งอิฟรี แลกลูกให้เป็นตัวประกันของกันและกัน เมื่อยูซตาสทำลูกชายของฮาร์เนคตาบอด ฮาร์เนคต้องการล้างแค้น พระเจ้าเฮนรีอนุญาตให้ฮาร์เนคทำให้ลูกสาวสองคนของยูซตาส ซึ่งเป็นหลานสาวของเฮนรีเอง ตาบอดและพิการ ยูซตาสกับภรรยา จูเลียง ตะลึงและขู่ว่าจะก่อกบฏ เฮนรีจัดแจงจนได้เจรจาข้อพิพาทกับลูกสาวที่เบรอเตยล์ จูเลียงดึงหน้าไม้และพยายามลอบสังหารพ่อของตน ทำให้เธอถูกจับกุมและกักบริเวณในปราสาท แต่หนีออกมาได้ด้วยการกระโดดจากหน้าต่างลงมาในคูข้างล่าง หลายปีต่อมา เฮนรีคืนดีกับลูกสาวและลูกเขย

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ