ชีวิต ของ พระเจ้าแทจง

ก่อตั้งโชซ็อน

พระเจ้าแทจง มีพระนามเดิมว่า “อีบังวอน” (이방원, 李芳遠) พระราชสมภพในปี ค.ศ. 1367 เป็นบุตรชายคนที่ห้าของอี ซ็อง-กเย (태조, 太祖) และได้ผ่านการรับรองในราชวงศ์โครยอในปี ค.ศ. 1382 ในช่วงแรกเขาได้ช่วยบิดาในการขยายการสนับสนุนจากประชาชนและขุนนางผู้มีอิทธิพล ในการปราบดาภิเษกก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ จากการสังหารจอง มงจู (정몽주, 鄭夢周) ที่ยังคงภักดีกับราชวงศ์โครยอ

เมื่อบิดาปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อนแล้วนั้น อีบังวอนก็ได้รับพระยศเป็นเจ้าชายช็องอัน (정안대군, 靖安大君) และตั้งพระมเหสีที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วนั้นเป็นพระนางชินอึย (신의왕후, 神懿王后) แต่พระเจ้าแทโจนั้นกลับโปรดปรานพระมเหสีพระองค์ใหม่คือพระนางชินด็อก (신덕왕후, 神德王后) จากตระกูลคังและตั้งเจ้าชายอีอัน (의안대군, 宜安大君) อีบังซอก (이방석, 李芳碩) พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสีพระองค์ใหม่เป็นรัชทายาท ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่บรรดาพระโอรสของพระมเหสีฮัน[1] โดยเฉพาะอีบังวอนซึ่งเป็นเจ้าชายที่มีความสามารถและมีผลงานมากที่สุด

เหตุการณ์จลาจลของเจ้าชาย

ในปี ค.ศ.1392 เขาได้ช่วยบิดาของเขาโค่นล้มราชวงศ์โครยอและก่อตั้งรางวงศ์ใหม่ ราชวงศ์โชซ็อน เขาคาดหวังว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทเพราะเขามีส่วนวร่วมมากที่สุดในการช่วยก่อตั้งราชวงศ์โชซ็อน แต่พ่อของเขา พระเจ้าแทโจ และอัครเสนาบดีช็อง โด-จ็อน (정도전, 鄭道傳) ได้สนับสนุนให้พระราชโอรสพระองค์ที่แปดของพระเจ้าแทโจ และเป็นน้องชายต่างมารดาของลีบังวอน (โอรสคนที่สองของพระนางชินด๊อก) ลีบังซอก เป็นรัชทายาท ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจาก ช็อง โด-จ็อน ซึ่งมีอิทธิพลและเป็นคนวางรากฐานทางการเมืองและกฎหมายของราชวงศ์ และต้องการให้อาณาจักรโชซ็อนนำโดยอัครเสนาบดีโดยมีกษัตริย์สนับสนุน ในขณะที่ ลีบังวอน ต้องการสร้างระบบอบที่ปกครองโดยตรงจากกษัตริย์ ทั้งสองฝ่ายต่างตะหนักดีถึงความเกลียดชังจากอีกฝ่ายและทั้งสองฝ่ายก็พร้อมที่จะปะทะกัน หลังจากเกิดการสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันของพระนางชินด๊อก และพระเจ้าแทโจกำลังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ในกับพระมเหสี ลีบังวอน ทำการฆ่า จองโดจอน และผู้ที่สนับสนุนเขา รวมถึงสังหารโอรสคนที่สองของพระมเหสีชินด็อก และทำการแต่งตั้งตัวเองเป็นรัชทายาทในปี ค.ศ.1398 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้กลายเป็นที่รู้จักกันถึงความขัดแย้งครั้งแรกของเจ้าชาย

พระเจ้าแทโจทรงเสียพระทัยมากเมื่อพระโอรสเข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงบัลลังก์อีกทั้งยังเสียใจจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี พระเจ้าแทโจจึงทรงสละราชบัลลังก์และทำการแต่งตั้งโอรสคนที่สองของเขา ลีบังกวา หรือ พระเจ้าช็องจง เป็นพระราชาคนใหม่ สิ่งที่ พรเจ้าจองจงกระทำเป็นครั้งแรกคือกลับไปอยู่ที่เมืองหลวงเดิม แคซ็อง ซึ่งเขาเชื่อว่าที่นั่นจะสะดวกสบายมากกว่า แต่ ลีบังวอน ได้ทำการสะสมอำนาจไว้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพระเชษฐาของเขา ลีบังกัน ที่ก็ต้องการอำนาจเช่นกัน ในปี ค.ศ.1400 พระเชษฐาของเจ้าชายลีบังวอนอีกพระองค์คือเจ้าชายฮวีอัน (회안대군, 懷安大君) ลีบังกัน (이방간, 李芳幹) ก่อกบฏจะยึดอำนาจจากลีบังวอน เจ้าชายลีบังวอนนำทัพเข้าปราบสองฝ่ายต่อสู้กันในเหตุการณ์จลาจลของเจ้าชาย (왕자의난, 王子-亂) ครั้งที่สอง เจ้าชายลีบังกันพ่ายแพ้และถูกเนรเทศ เจ้าชายลีบังวอนบังคับให้พระเจ้าจองจงสถาปนาพระองค์เองเป็นรัชทายาท จนในที่สุดพระเจ้าจองจงก็ทรงทนไม่ได้อีก สละราชบัลลังก์ให้พระอนุชาขึ้นครองราชย์ต่อ ลีบังวอน ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่สามของราชวงศ์โชซ็อน

การรวบรวมอำนาจ

ลายเซ็นของพระเจ้าแทจง

พระเจ้าแทจงทรงย้ายเมืองหลวงกลับมาจากเมืองแคซอง (ซึ่งย้ายไปในรัชสมัยของพระเจ้าจองจง) พระเจ้าแทจงทรงปฏิรูประบบการปกครองของเกาหลีใหม่ทั้งหมดโดยมีแบบอย่างจากการปกครองของจีน มีสภาอีจอง (의정부, 議政府) เป็นสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์เป็นองค์กรสูงสุด รองลงมาคือหกกระทรวง[2] (육조, 六曹) ซึ่งระบบนี้หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในรัชสมัยพระเจ้าเซโจแล้วก็จะใช้ไปตลอดห้าร้อยปีราชวงศ์โจซอน และพระเจ้าแทจงยังทรงแบ่งอาณาจักรโจซอนออกเป็นแปดมณฑล รัชสมัยของพระเจ้าแทจงเป็นสมัยแห่งการวางรากฐานของอาณาจักร ในค.ศ. 1401 ทรงนำเงินกระดาษมาใช้เป็นครั้งแรกในเกาหลี พระเจ้าแทจงทรงดำเนินนโยบายส่งเสริมลัทธิขงจื้อใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งเข้ามาในเกาหลีตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และกดขี่พระพุทธศาสนา ทรงปิดวัดวาอารามไปหลายร้อยแห่ง ทรงยึดที่ดินและทรัพย์ของสถาบันพระพุทธศาสนามาใช้จ่ายในการบริหารบ้านเมือง

ใน ค.ศ. 1402 พระจักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐) แห่งราชวงศ์หมิงทำการยึดอำนาจปราบดาภิเษก พระเจ้าแทจงจึงทรงส่งทูตไปถวายพระพรจักรพรรดิจีนพระองค์ใหม่ พระจักรพรรดิหย่งเล่อจึงทรงตอยแทนด้วยการพระราชทานตราแผ่นดินทองคำและพระราชโองการยอมรับราชวงศ์โจซอนเป็นประเทศราชอย่างเป็นทางการ

แต่พระเจ้าแทโจซึ่งประทับอยู่ที่เมืองฮัมนุงนั้น มิได้มอบตราตั้งอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกษัตริย์โชซอน เพราะพระเจ้าแทจงทรงได้บัลลังก์มาด้วนการเข่นฆ่าพี่น้อง พระเจ้าแทจงทรงส่งทูตไปหลายคน รวมทั้งพระสหายแต่เยาว์วัยชื่อ พักซุน แต่ทั้งหมดก็ถูกพระเจ้าแทโจสังหาร พระเจ้าแทจงจึงปกครองบริหารบ้านเมืองอย่างดี เพื่อให้พระบิดาเห็นในความสามารถและสมควรที่จะได้รับตราตั้ง เริ่มโดยทรงย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ฮันซอง ในพ.ศ. 1948 พระเจ้าแทจงก็รับสั่งให้มีการสำรวจที่ดินของขุนนางชินจินซึ่งขุนนางเหล่านี้มักจะซุกซ่อนโฉนดที่ดินเพื่อหนีภาษี เมื่อสำรวจจนครบแล้วพบว่ารายได้ของราชสำนักกลับเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และยังทรงให้มีระบบโฮแพ คือการสำรวจสำมะโนประชากรเป็นครั้งแรก ให้ชายที่อายุสิบหกปีขึ้นไปทุกคนมาลงทะเบียนกับทางราชการ และทรงจัดตั้งชินมุน เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการทำงานของขุนนาง โดยให้มาตีกลองหน้าชินมุน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ