การรุกรานโดยมองโกล ของ พระเจ้าโคจงแห่งโครยอ

ต้นศตวรรษที่ 13 เป็นช่วงเวลาแห่งการขยายอำนาจของมองโกล ในค.ศ. 1225 วอเคอไตข่าน (Ögedei Khan) ส่งทูตมาเรียกร้องบรรณาการจากโครยอ แต่ทูตมองโกลถูกลอบสังหารอย่างปริศนา[1] วอเคอไตข่านจึงแก้แค้นเกาหลีโดยการส่งแม่ทัพซาร์ไต (Sartai) ยกทัพมองโกลมาบุกเกาหลีในค.ศ. 1231 รุกข้ามแม่น้ำยาลูมาอย่างรวดเร็วชเวอูระดมพลเกาหลีไปป้องกันได้ที่เมืองคูซอง (구성, 龜城) แต่ทัพมองโกลนั้นมีความรวดเร็วสามารถยึดเมืองแคซองได้ในค.ศ. 1232 ด้วยความช่วยเหลือของฮงบกวอน (홍복원, 洪福源) ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้ากับมองโกล ราชสำนักเกาหลีต้องยอมเสียเงินทองผ้าไหม รวมทั้งม้าและทาสให้กับมองโกลเป็นค่าชดเชย และวอเคอไตข่านยังให้ผู้ตรวจการ (darugachi) จำนวน 72 คนอยู่ควบคุมสถานการณ์ในโครยอ

แต่ชเวอูก็ได้สั่งให้นำผู้ตรวจการทั้ง 72 คนไปสังหารเสีย แล้วย้ายราชสำนักไปที่เกาะคังฮวา สร้างป้อมปราการแข็งแรงล้อมรอบ ซึ่งแผนการย้ายราชสำนักนี้เป็นที่ต่อต้านของพระเจ้าโคจงและขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหลาย ที่เห็นว่าไม่ควรจะไปสู้รบกับมองโกลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โครยอ ราชสำนักที่เกาะคังฮวานั้นเป็นวังของชเวอูมากกว่าที่จะเป็นพระราชวังของพระเจ้าโคจง[2] ออเกอเดย์ข่านเห็นว่าการย้ายเมืองหลวงของเกาหลีเป็นการเตรียมรบกับมองโกล จึงส่งทัพมาบุกอีกนำโดยฮงบกวอน ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้าพวกมองโกล ปรากฏว่าแม่ทัพซาร์ไตถูกลอบสังหารโดยพระภิกษุชื่อว่าคิมยุนฮู

ทัพมองโกลยังคงอยู่ในเกาหลีต่อมา ในค.ศ. 1236 พระเจ้าโคจงมีพระราชโองการให้จัดพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลี (팔만대장경, 八萬大藏經, Tripitaka Koreana) เก็บไว้ที่วัดแฮอิน (해인사, 海印寺) ขึ้นมาเพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกมองโกลทำลายและทรงเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ได้บุญและโครยอจะรอดพ้นจากการรุกรานของมองโกล เมื่อวอเคอไตข่านเสียชีวิตในค.ศ. 1241 การรุกรานของมองโกลจึงหยุดไป

ในค.ศ. 1251 มองเกอข่าน (Mongke Khan) ข่านคนใหม่ของมองโกล ได้เรียกร้องให้พระเจ้าโคจงย้ายกลับมาประทับที่เมืองแคซอง มองเกอข่านส่งจาแลร์ไต (Jalairtai) ยกทัพมองโกลเข้ามาบุกโครยออีกครั้ง จนพระเจ้าโคจงต้องทรงยอมจำนน ย้ายกลับมาประทับที่แคซอง แต่ชเวฮัง (최항, 崔沆) บุตรชายของชเวอูและผู้นำทหารต่อจากบิดายังคงอยู่ที่เกาะคังฮวา มองเกข่านเห็นว่าเกาหลียังไม่นอบน้อมเพราะผู้นำเผด็จการทหารจึงต้องการนำตัวชเวฮังมาลงโทษ จาแลร์ไตบุกเกาหลีอีกครั้งในค.ศ. 1254 ซึ่งเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดมีความเสียหายมากที่สุด[3] ทัพมองโกลสังหารชาวเกาหลีไปจำนวนมากเป็นพันคนรวมทั้งเผาทำลายบ้านเมืองและวัตถุมีค่า เกาหลีกลายเป็นแดนมิคสัญญีขณะที่ราชสำนักใช้ชีวิตอย่างหรูหราหลบซ่อนอยู่ที่เกาะคังฮวา

ในที่สุด ค.ศ. 1258 พระเจ้าโคจงร่วมกันวางแผนกับคิมอินจุน (김인준, 金仁俊) และขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหลาย ใช้ให้ยูคยอง (유경, 柳璥) ทำการลอบสังหารชเวอี (최의, 崔竩) ผู้นำเผด็จการทหารบุตรชายของชเวฮังไปเสีย และพระเจ้าโคจงก็ทรงยอมจำนนต่อมองโกล โดยโครยอตกเป็นเมืองขึ้นของมองโกลและต้องส่งองค์ชายโครยอทั้งหลายไปอยู่กับมองโกลที่เมืองคาราโครุม (Karakorum) และต้องอภิเษกกับเจ้าหญิงมองโกล รวมทั้งผนวกมณฑลซังซอง (쌍성, 雙城) ให้อาณาจักรมองโกลปกครองโดยตรง ในค.ศ. 1259 พระเจ้าโคจงก็ทรงส่งพระโอรสองค์ชายรัชทายาทวังจอน (왕전, 王倎 ภายหลังเป็น พระเจ้าวอนจง) ไปเป็นองค์ประกันกับพวกมองโกล แต่พระเจ้าโคจงก็สวรรคตในปีเดียวกัน องค์ชายวังจอนจึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าวอนจง

พระเจ้าโคจงในภายหลังได้รับพระนาม พระเจ้าชุงฮอน (충헌왕, 忠憲王) จากจักรรพรรดิหยวนซื่อจูกุบไลข่าน แต่ก็ยังมีพระนามที่พระสุสานอยู่

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ