พระราชกรณียกิจ ของ พระเมืองเกษเกล้า

การศาสนา

วัดโลกโมฬี

ในช่วงแรกของการครองราชย์ ขณะที่พระองค์ยังมีสถานะที่มั่นคง พระองค์ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดไปครองเมืองเชียงแสน[7] ซึ่งถือเป็นศูนย์อำนาจทางตอนบนของอาณาจักรล้านนา และเมืองเชียงแสนนี่เองที่เป็นฐานอำนาจของพระเมืองเกษเกล้าสืบมาถึงรัชสมัยของพระนางจิรประภามหาเทวี และสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ทางด้านการปกครองมีลักษณะปรึกษาร่วมกันกับสิงเมืองและบรรดาขุนนาง เนื่องจากมีหลักฐานที่กล่าวถึง เมื่อพระเมืองเกษเกล้าครองราชย์ได้ไม่ไม่นาน ราชเทวี (ไม่ปรากฏพระนาม) ก็ประสูติราชบุตรองค์หนึ่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล จึงได้สร้างพระพุทธรูป "พุทธพิมพาเจ้าราชบุตร" แล้วหารือกับสิงเมืองและเสนาอามาตย์ว่าจะนำพระพุทธรูปไว้ที่ใด เจ้าเมืองเชียงแสนจึงได้เสนอให้ไปไว้ในถ้ำปุ่ม เมืองเชียงแสน[8]

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ให้การทำนุบำรุงพระศาสนาในเมืองต่างของล้านนา เช่น เมืองลำพูน เชียงใหม่ และเชียงแสน โดยเฉพาะการสร้างวัดโลกโมฬี ทำนองวัดประจำรัชกาลเลยทีเดียว[1]

การต่างประเทศ

สถานะทางการเมืองในช่วงต้นของพระเมืองเกษเกล้าเป็นที่ยอมรับทางการเมืองระหว่างรัฐ โดยเฉพาะอาณาจักรล้านช้าง ดังพบว่า พระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์แห่งล้านช้างได้ทูลขอ นางยอดคำ หรือ พระนางยอดคำทิพย์ (เจ้านางหลวงคำผาย) ธิดาของพระเมืองเกศเกล้าเป็นพระอัครมเหสี เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร และผนึกกำลังตอบโต้การขยายตัวของอาณาจักรอยุธยา แต่อย่างไรก็ตามหลังจาก พ.ศ. 2077 ระบอบกษัตริย์และขุนนางของอาณาจักรล้านนาก็เสียสมดุล และเกิดเหตุการณ์การถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติ การยกพระราชโอรสของพระองค์ครองราชย์ต่อและถูกลอบปลงพระชนม์ ต่อมาเมื่อพระองค์ครองราชย์อีกครั้งก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ในท้ายที่สุด

ใกล้เคียง

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) พระเมรุมาศ พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ พระเมืองเกษเกล้า พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส) พระเมตตาของพระเยซู พระเมธังกรพุทธเจ้า พระเมตตคูเถระ พระเมธีสุทธิพงศ์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์