พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย

พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย หรือ พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย เป็นหนึ่งในพระแสง (อาวุธ) ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ และทุกคนต่างทราบว่าเมื่อกษัตริย์ได้พระราชทานแก่ใครคนหนึ่ง นั่นย่อมหมายความว่า บุคคลนั้นได้รับพระราชทานอำนาจส่วนหนึ่งในการควบคุมอาณาเขตของเขาด้วยศาสตรา ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้ว[1]พระแสงของ้าวนี้เป็นอาวุธที่รู้จักกันดี โดยได้มีการนำมาใช้ในยุทธการที่หนองสาหร่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างศึกนามเจ้าพระยาไชยานุภาพเข้าหามังกะยอชวาที่ 1 แห่งตองอู ในเพลาทำศึกด้วยการฝ่าดงของเหล่าทหารแห่งอริราชศัตรู เมื่อช้างทรงของทั้งสองพระองค์เผชิญหน้ากัน ผู้นำทัพทั้งสองต่างก็ทรงยืนบนหัวช้างแล้วเซถลาเข้าหากันด้วยพระแสงดาบและพระแสงหอก มีการกล่าวกันว่า ทหารของทั้งสองฝ่ายต่างหยุดต่อสู้เพื่อเฝ้ามองผู้นำสองพระองค์ซึ่งสำแดงเดชด้วยความตื่นเต้น ในที่สุด พระแสงได้ตัดผ่านพระวรกายจากพระอังสา (ไหล่) ถึงพระโสณี (สะโพก) และฝ่ายสยามเป็นผู้มีชัยในวันดังกล่าว ครั้นเมื่อปราศจากผู้นำ ทัพพม่าจึงหยุดการต่อสู้และร่นถอยกลับไปยังเมืองพะโค ส่วนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการเทิดพระเกียรติเป็นวีรกษัตริย์ไทย และวันที่ทำศึกดังกล่าว (18 มกราคม) ได้มาเป็นวันหยุดประจำชาติที่มีการเฉลิมฉลองในแต่ละปี ในฐานะของวันกองทัพไทย[2]ส่วนของ้าวที่ใช้ทำสงครามยุทธหัตถีที่หนองสาหร่าย ก็ได้รับพระราชทานนามเป็นเจ้าพระยา (ซึ่งหมายถึงตำแหน่งสูงสุดของขุนนางสยาม) แสนพลพ่าย (ซึ่งหมายถึงเหล่าศัตรูที่เป็นฝ่ายปราชัยนับพัน)[3]ของ้าวศึกนี้มีลักษณะพิเศษ โดยเป็นการนำตะขอและใบมีดมาใช้รวมกัน ซึ่งยังมีการใช้งานเฉพาะเมื่อทรงช้างแล้วเผชิญหน้ากับอีกฝ่าย ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่นำมาใช้ต้องผ่านการฝึกฝนด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมของไทย ในฐานะยุทธวิธีประจำตำแหน่งระดับสูง[4]“ใบมีดของ้าวนั้นมีความคม และได้รับการพิจารณาว่าสร้างขึ้นมาจากเหล็กกล้า ส่วนด้ามจับทำมาจากโลหะหรือไม้เนื้อแข็ง ที่เคลือบด้วยทองกับไม้สนชั้นดี”[5]

ใกล้เคียง

พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย พระแสน (เชียงแตง) พระแสน (มหาไชย) พระแสนห้า พระแสงราชศัสตราวุธ พระแสน พระแสนเมือง พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)