พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (en:Biodegradable plastic) คือพลาสติกที่สามารถถูกทำให้สลายตัวได้โดยจุลินทรีย์ (เช่น แบคทีเรีย ฟังไจ) ทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี กลายเป็นสารชีวมวล (biomass), น้ำ, และก๊าซตามธรรมชาติ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น [1][2]การย่อยสลายทางชีวภาพขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมเป็นหลัก ได้แก่ อุณหภูมิ จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ การมีหรือไม่มีออกซิเจนและน้ำ ดังนั้น การย่อยสลายทางชีวภาพจะเกิดในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ สถานที่ เช่น บนดิน ใต้ดิน บนผิวน้ำ ใต้ทะเล หรือในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น [1]พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ บางชนิดสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติทั่วไป เช่น พลาสติกในกลุ่ม PHAs (Polyhydroxyalkanoates) ที่สามารถย่อยสลายได้ทั้งในดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล [3], bio-based PBS (Polybutylene succinate) ที่ย่อยสลายได้ในดินที่อุณหภูมิปกติ [4] เป็นต้น แต่พลาสติกย่อยสลายได้บางชนิดก็ไม่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ เนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการย่อยสลายในภาวะที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการหมักทางชีวภาพในภาวะที่มนุษย์สร้างขึ้น พลาสติกชนิดนี้จะเรียกว่าเป็น "compostable plastics"การย่อยสลายของ compostable plastics มี 2 รูปแบบ ได้แก่ขณะที่คำว่า "พลาสติกชีวภาพ (en:Bioplastic)" และ "พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (en:Biodegradable plastic)" เป็นคำที่ใกล้เคียงกัน แต่สองคำนี้ไม่ใช่คำที่มีความหมายเดียวกัน พลาสติกชีวภาพชนิดที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ เช่น bio-PE, bio-PET เป็นต้น