โครงสร้าง ของ พลาสโมเดสมาตา

โครงสร้างของชั้นผนังเซลล์และส่วนของพลาสโมเดสมาตา

ในเซลล์พืชปกติจะมีพลาสโมเดสมาประมาณ 103 and 105 รู เชื่อมต่อระว่างเซลล์ต่างๆ ที่ติดกัน. โดยมีโครงสร้าง 3 ชั้น อันได้แก่, ชั้นพลาสมาเมมเบรน, ชั้นปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก, และ เดสโมทิวบูล [1] ในพืช C4 เซลล์มีโซฟิลล์และเซลล์บันเดิลชีทที่อยู่ติดกัน จะมีพลาสโมเดสมาตาเชื่อมระหว่างเซลล์ทั้งสอง และทำหน้าที่เป็นทางผ่านและลำเลียงสารจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ระหว่างเซลล์มีโซฟิลล์และเซลล์บันเดิลชีทอีกด้วย

พลาสมาเมมเบรนของพลาสโมเดสมาตา

ลักษณะของพลาสมาเมมเบรนของพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmatal plasma membrane) นั้นเป็นส่วนต่อขยายมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) หรือเรียกว่า พลาสมาเลมมา [2] ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า ฟอสโฟไลปิดไบเลเยอร์.

ปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก

ปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก (Cytoplasmic sleeve) เป็นช่องว่างที่เต็มไปด้วยของเหลวที่ถูกปิดโดยพลาสมาเลมมาและเป็นส่วนที่ต่อเนื่องของไซโตซอล. การเคลื่อนที่ของโมเลกุลและอิออนต่างๆผ่านพลาสโมเดสมาตานั้น สันนิษฐานว่าเกิดจากการรอดปลอกหุ้มนี้. โมเลกุลที่เล็กกว่า (เช่นน้ำตาลและกรดอะมิโน) และอิออนต่างๆ สามารถผ่านพลาสโมเดสมาตาโดยวิธีการแพร่โดยมิต้องใช้พลังงานทางเคมีในการขับเคลื่อนแต่อย่างใดเลย. แต่อย่างไรก็ดียังไม่แน่ชัดว่าการขนถ่ายแบบเลือกสรรในโมเลกุลที่ใหญ่กว่ากระทำได้อย่างไร อาทิ การขนถ่ายโมเลกุลของโปรตีนเป็นต้น. หนึ่งในสมมติฐานนั่นคือการที่โพลีแซคคาไรด์แคลโรสได้สะสมรอบคอพลาสโมเดสมาตาเพื่อสร้างปลอกเพื่อลดเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลพวกนั้นอันเป็นการควบคุมให้สามารถซึมเข้าสู่สารภายในไซโตพลาสซึมได้ [2]

เดสโมทิวบูล