ประวัติศาสตร์ ของ พลิมัท_(มอนต์เซอร์รัต)

โบสถ์เซนต์แอนโทนี

หลังจากการก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกของยุโรปบนเกาะมอนต์เซอร์รัตในปี ค.ศ. 1632 โบสถ์เซนต์แอนโทนีได้รับการจัดตั้งขึ้นในพลิมัทในปี ค.ศ. 1636[2] แม้ว่าเซนต์แอนโทนีจะเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่เชื่อกันว่าข้าหลวงแอนโทนี บริสเก็ต ซึ่งเดินทางไปอังกฤษเพื่อหาเงินทุนมาสร้างโบสถ์แห่งนี้ ได้ตั้งชื่อโบสถ์ตามชื่อของเขา[3] โบสถ์ต้องสร้างใหม่หลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากความเสียหายจากแผ่นดินไหว และเฮอริเคน[4]

เฮอริเคนฮิวโก

มอนต์เซอร์รัตถูกพายุเฮอริเคนฮิวโกถล่ม เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2532 พายุเฮอริเคนได้ทำลายเขื่อนกันคลื่นหินยาว 180 ฟุตในท่าเรือของพลิมัท[5] อาคารอื่น ๆ อีกมากมายรวมทั้ง โรงเรียน, สถานีอนามัย และอาคารโรงพยาบาลกลางที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่สามารถใช้งานได้จากความเสียหายจากพายุ เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นเพียงแห่งเดียวบนเกาะ และมีความเสียหายมากจนต้องย้ายผู้ป่วยทั้งหมด การสำรวจโดยวิศวกรจากสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติของตรินิแดดและโตเบโกได้สรุปว่า โรงพยาบาลควรได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างแข็งแรงสามารถทนต่อพายุในอนาคตได้[6]

ภูเขาไฟและการอพยพ

กระแสตะกอนภูเขาไฟได้เผาไหม้สิ่งที่ยังไม่ได้ปกคลุมด้วยเถ้าถ่าน (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)เถ้ากองสูงเท่าโคมไฟถนนในเมืองพลิมัท (พ.ศ. 2542)

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 การปะทุครั้งใหญ่ที่ภูเขาไฟซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) ซึ่งไม่มีการปะทุมานานหลายศตวรรษส่งให้เกิดการไหลของตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic flow) และขี้เถ้าตกลงไปทั่วพื้นที่กว้างทางตอนใต้ของมอนต์เซอร์รัตรวมถึงเมืองหลวงพลิมัท เห็นได้ชัดในทันทีว่าเมืองนี้ตกอยู่ในอันตรายอย่างร้ายแรง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ภูเขาไฟได้พ่นเศษหิน (tephra) ตกลงมาในพลิมัท และในเดือนธันวาคมผู้อยู่อาศัยถูกอพยพเพื่อความไม่ประมาท

ผู้อยู่อาศัยได้รับอนุญาตให้กลับมาในอีกไม่กี่เดือนต่อมา แต่ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540 การปะทุครั้งใหญ่อีกครั้งทำให้เกิดการไหลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของตะกอนภูเขาไฟซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 19 คน และไหลไปเกือบถึงสนามบินซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ผู้อาศัยในพลิมัทถูกอพยพอีกครั้ง

ระหว่างวันที่ 4–8 สิงหาคม พ.ศ. 2540 การปะทุครั้งใหญ่เป็นชุดได้ทำลายประมาณ 80% ของเมืองโดยฝังไว้ใต้เถ้าสูง 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) วัสดุที่ร้อนจัดนี้ได้เผาอาคารหลายหลัง ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่อาศัยสำหรับชาวเมืองส่วนใหญ่

การไหลของกระแสตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic flow), ลาวา, เถ้า และหินภูเขาไฟอื่น ๆ ส่วนใหญ่อัดแน่นโดยมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับคอนกรีต การกำจัดภาระที่ล้นเกินจะต้องใช้วัตถุระเบิด, รถปราบดิน และทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีราคาแพงเกินไปสำหรับการใช้งานอย่างกว้างขวาง คาดว่าดินใต้โคลนแข็งและลาวาน่าจะไหม้เกรียมและไม่สามารถเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ จากความร้อนที่รุนแรงของการไหลของกระแสตะกอนภูเขาไฟ

รัฐบาลสั่งอพยพเมืองพลิมัทโดยกองทัพเรืออังกฤษให้ความช่วยเหลือโดยพาประชาชนไปยังที่ปลอดภัย ครึ่งทางใต้ของเกาะได้รับการประกาศให้เป็นเขตที่กันออกไป (exclusion zone)[7] เนื่องจากมีการระเบิดของภูเขาไฟที่ซูฟริแยร์ฮิลล์ (Soufrière Hills) อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของเกาะถูกย้ายไปทางเหนือไปยังหมู่บ้านเบรดส์ (Brades) แม้ว่าพลิมัทจะยังคงเป็นเมืองหลวงทางนิตินัย ในปี พ.ศ. 2556 ท่าเรือและเมืองหลวงแห่งใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ลิตเติลเบย์ (Little Bay) บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

การถูกทำลายล้างทั้งหมดของพลิมัท ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงสำหรับเกาะมอนต์เซอร์รัต พลิมัทเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะโดยมีประชากรประมาณ 4,000 คน และด้วยเหตุนี้จึงเคยเป็นที่ตั้งของร้านค้าและบริการเกือบทั้งหมดของเกาะ นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของรัฐบาล สิ่งอำนวยความสะดวกที่สูญหายบางส่วนถูกสร้างขึ้นใหม่ในเวลาต่อมา ในที่อื่นของมอนต์เซอร์รัต แต่สิ่งนี้ไม่ได้ป้องกันการอพยพ ระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง 2543 ประชากร 2/3 ของทั้งเกาะถูกบังคับให้อพยพ โดยหลายคนตั้งรกรากอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยในปี พ.ศ. 2540 เหลือน้อยกว่า 1,200 คนที่ยังอาศัยอยู่บนเกาะ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 5,000 คนในปี พ.ศ. 2559

แหล่งที่มา

WikiPedia: พลิมัท_(มอนต์เซอร์รัต) http://www.visitmontserrat.com/buried-city/ http://www.youtube.com/watch?v=4jydWJXiPPE http://blogs.brown.edu/archaeology/fieldwork/monts... http://id.loc.gov/authorities/names/n79098599 http://d-nb.info/gnd/7543973-6 http://www.gov.ms/2012/02/27/plymouth-port-back-in... http://www.gov.ms/2012/06/21/no-unauthorised-entry... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/identities/lccn-n79-98599 http://www.bbc.co.uk/weather/world/city_guides/res...