พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย
พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย

พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย

พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย (อังกฤษ: necrotizing fasciitis) เป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่ออ่อนที่ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อ เกิดขึ้นและลุกลามได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจมีอาการผิวหนังบริเวณที่เป็นกลายเป็นสีแดงหรือสีม่วง เจ็บปวด มีไข้ และอาเจียนได้ อวัยวะที่พบบ่อยคือแขนขาและบริเวณฝีเย็บเชื้อมักเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแยกที่ผิวหนังเช่นจากรอยบาดหรือแผลไฟไหม้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องต่างๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคอ้วน การติดสุรา การใช้ยาเสพติด และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ส่วนใหญ่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แบ่งออกเป็นสี่ชนิดขึ้นอยู่กับเชื้อที่เป็นสาเหตุ ผู้ป่วยราว 55-80% ติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 1 ชนิด เชื้อที่พบบ่อยถึงหนึ่งในสามคือแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สายพันธุ์ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA) การตรวจภาพรังสีอาจมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยในผู้ป่วยบางรายosteochondromatosis (Synovial osteochondromatosis) · Plica syndromelower limb (Iliotibial band syndrome, Patellar tendinitis, Achilles tendinitis, Calcaneal spur, Metatarsalgia) · Bone spur