พายุเฮอริเคนเออร์มา
พายุเฮอริเคนเออร์มา

พายุเฮอริเคนเออร์มา

พายุเฮอริเคนเออร์มา (อังกฤษ: Hurricane Irma) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคแคริบเบียนและรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกา เท่าที่มีการบันทึกไว้นั้น เออร์มาเป็นเฮอริเคนที่มีกำลังแรงที่สุดในแอ่งแอตแลนติกนอกทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก และมีความรุนแรงเทียบเท่าพายุเฮอริเคนวันแรงงาน พ.ศ. 2478 ในฐานะพายุหมุนขึ้นฝั่งที่รุนแรงที่สุดในแอ่งแอตแลนติก รวมทั้งเป็นเฮอริเคนแอตแลนติกที่รุนแรงที่สุดในด้านความเร็วลมสูงสุดนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนวิลมาในปี พ.ศ. 2548 และรุนแรงที่สุดในด้านความกดอากาศนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนดีนในปี พ.ศ. 2550 และเป็นลูกแรกที่มีระดับความรุนแรงเช่นนั้นที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ใด ๆ ในภูมิภาคแอตแลนติกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนเฟลิกซ์ในปี พ.ศ. 2550 เออร์มายังเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ลูกแรกเท่าที่มีการบันทึกไว้ที่เคลื่อนผ่านและส่งผลกระทบโดยตรงต่อหมู่เกาะลีเวิร์ดตอนเหนือ และเป็นลูกที่สองเท่าที่มีการบันทึกไว้ที่ขึ้นฝั่งคิวบาด้วยระดับความรุนแรงดังกล่าว (อีกลูกเป็นเฮอริเคนในปี พ.ศ. 2467)ในฐานะเฮอริเคนประเภทกาบูเวร์ดีลูกหนึ่ง[1][2][3] เออร์มาก่อตัวขึ้นใกล้กับกาบูเวร์ดีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากคลื่นกระแสลมเขตร้อนซึ่งได้เคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกไปเมื่อสองวันก่อนหน้า มันเป็นพายุหมุนลูกที่เก้า เฮอริเคนลูกที่สี่ และเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สองที่ได้รับการตั้งชื่อในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560[4][5][6] ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เออร์มาได้ทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วหลังจากการก่อตัว กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 2 ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง มันเริ่มเป็นเฮอริเคนระดับ 3 (และเฮอริเคนขนาดใหญ่) หลังจากนั้นไม่นาน อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงได้ผันผวนขึ้นลงอยู่หลายวันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแทนกำแพงตาพายุหลายครั้ง จนกระทั่งในวันที่ 5 กันยายน เออร์มาได้กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 และเมื่อถึงเช้าวันต่อมา ก็ได้เพิ่มความรุนแรงสู่ระดับสูงสุดด้วยความเร็วลม 185 ไมล์ต่อชั่วโมง (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุด 914 มิลลิบาร์ (914 เฮกโตปาสกาล; 27.0 นิ้วปรอท) ทำให้พายุลูกนี้เป็นเฮอริเคนที่มีกำลังแรงที่สุดเป็นอันดับสองในด้านความเร็วลมสูงสุด เป็นรองเพียงพายุเฮอริเคนแอลลินในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งมีความเร็วลมสูงสุดที่ 190 ไมล์ต่อชั่วโมง (305 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เออร์มาสรักษาความเร็วลมที่ 185 ไมล์ต่อชั่วโมงได้นานถึง 37 ชั่วโมง ทำลายสถิติของเฮอริเคนแอลลินซึ่งรักษาความเร็วลมที่ 180 ไมล์ต่อชั่วโมง (285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ได้นาน 18 ชั่วโมง[7] นอกจากนี้ เออร์มายังเป็นหนึ่งในบรรดาเฮอริเคนที่รักษาความเร็วลมในระดับ 5 ไว้ได้นานที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ด้วย[8]ในช่วงที่มีความเร็วลมอยู่ในระดับ 5 เออร์มาได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงในบาร์บูดา, แซ็ง-บาร์เตเลมี, เซนต์มาร์ติน, แองกวิลลา และหมู่เกาะเวอร์จิน และเป็นเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดที่พัดถล่มหมู่เกาะลีเวิร์ดตอนเหนือและหนึ่งในพายุหมุนที่ร้ายแรงที่สุดที่พัดถล่มหมู่เกาะดังกล่าว (ร่วมกับพายุเฮอริเคนดอนนาในปี พ.ศ. 2503 และพายุเฮอริเคนลูอิสในปี พ.ศ. 2538) ณ. วันที่ 9 กันยายน พายุลูกนี้ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 24 ราย[9]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุเฮอริเคนเออร์มา //www.worldcat.org/issn/0190-8286 http://www.independent.co.uk/news/world/americas/i... https://www.cnbc.com/2017/08/31/hurricane-irma-int... https://amp.cnn.com/cnn/2017/08/31/us/hurricane-ir... https://www.theatlantic.com/science/archive/2017/0... https://www.theguardian.com/world/live/2017/sep/07... https://www.theverge.com/2017/9/1/16239514/hurrica... https://www.washingtonpost.com/news/capital-weathe... https://webcms.colostate.edu/tropical/media/sites/... https://web.archive.org/web/20170906092557/https:/...