ผลกระทบ ของ พายุแดเนียล

นักวิจัยพายุจากมหาวิทยาลัยเยลถือว่าพายุแดเนียลเป็นพายุในเขตแอฟริกาที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่มีบันทึกไว้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากนักท่วมในแอลจีเรียกว่า 3,000 คนในปี ค.ศ. 1927 และถือเป็นพายุที่ดุร้ายที่สุดนับตั้งแต่ซุเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยียนเมือปี ค.ศ 2013

กรีซ

ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2023 เกิดน้ำท่วมในเทลัซซี่ในกรีซคร่าชีวิตไป 1 คน[4] ในวันเดียวกันก็เกิดฝนกตกหนกหมู่บ้านซาโกราที่ระดับน้ำฝน 1,092 มม. (43นิ้ว) ซึ่งมากว่าค่าเฉลี่ยของระดับน้ำฝันทั้งเดือนกว่า 55 เท่า [5] ในเมืองพอร์ตาเรียวัดระดับน้ำฝนได้ 884 มม. (34.8 นิ้ว) โดยหลังจากนั้นไม่สามารถวัดระดับน้ำฝนได้อีกเนื่องจากได้รับความเสียหาย [6]

ในวันที่ 6 กันยายน  แม่น้ำกราฟซิโดนาสจากภูเขาเพอลิออนได้เอ่อล้นท่วมเมืองโวลอสจนสะพาน[7]และบ้านพักคนชรา[8]ได้รับความเสียหาย กระแสน้ำได้พัดเอารถยนต์ รถบัส[9] ต้นไม้ และ เศษซากปรักหักพังไปกับสายน้ำ [10]

ในวันที่ 7 กันยายน ทางด่วนระหว่างเอเธนและเมืองเธซซาโลนิกิถูกปิด และ รถไฟระหว่างเมืองทั้งสองก็ได้ปิดทำการเช่นกัน [11]ในเมืองเธลัซซี่มีผู้ประสบภัยที่ติดตามอาคาร สะพาน และ หมู่บ้านรอการช่วยเหลือกว่า 800 คน [12]

แม่น้ำเพนิออซได้เอ่อล้นเข้าท่วมเมืองลาริซซ่าหลังจากฝนหยุดเมื่อวันที่ 8 กันยายน โดยระดับน้ำสูงถึง 9.5 เมตร (31ฟุต) สูงว่าระดับปกติกว่า 5.5 เมตร (18 ฟุต) [13]ส่วนที่หุบเขาเวลออฟเทมพีระดับน้ำสูงถึง 18 เมตร (59ฟุต) สูงจนถึงระดับสะพานแขวน [14]

ที่เมืองโวลอสมีผู้เสียชีวิตจากกำแพงถล่ม ใกล้เมืองเพลิออนได้มีผู้พบศพหญิงสูงอายุเมืองวันที่ 6 กันยายน ในขณะที่อีก 4 คนได้หายสาบสูญ หมู่บ้านกว่า 6 แห่งใกล้ภูเขาเพลลิออนได้รับความเสียหายอย่างหนัก [15]

หลังจากฝนตกหนักเริ่มขึ้น ได้มีการเริ่มโครงการโคเพอนิคัสเพื่อจัดทำแผนที่เร่งด่วนในเขตน้ำท่วมในกรีซ โดยวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม เซนติเนล-1 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พบว่ามีพื้นที่ที่ได้รับผลระทบจากน้ำท่วมกว่า 73,000 เฮกตาร์ (456,250 ไร่) [16]

นักอุตุนิยมวิทยาถือว่าพายุครั้งนี้เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์กรีซตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 [17] น้ำท่วมในแคว้นเธซซัลลี่ทำลายพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่คิดเป็น 15% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด เปลี่ยนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์กลายเป็นโคลนซึ่งจะเพาะปลูกไม่ได้เป็นเวลากว่า 5 ปี [18] โดยทางการประเมินความเสียหายอยู่ที่ 2 พันล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 76,966,522,500 บาท ในวันที่ 16 กันยายนมีผู้เสียชีวิต 17 ตน ผู้เสียชีวิตบางส่วนเป็นชาวออสเตรียนที่ติดอยู่ในบ้านพักตากอากาศใกล้ชายหาดโพติสติกใกล้เขตเพลิออนก่อนจะถูกกระแสน้ำพัดมา [19]ตำรวจได้มีการห้ามการดินทางไปโวลอส บางส่วนของหมู่บ้านในเขตเพลิออนและเกาะสเกียทอสใกล้ๆ โดยทางการได้ส่งข้อความไปยังประชาชนในเขตภาคกลางของกรีส เกาะสปอเรด และ เกาะ อีเวียใกล้กับเอเธน โดยเตือนไม่ให้ประชาชนออกภายนอกอาคารโดยพายุได้ถูกพยากรณ์ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยถึงช่วงเย็นของวันที่ 7กันยายน [20]

ตุรกี

ในช่วงแรงของพายุมีผู้เสียชีวิต 5 คน จากน้ำท่วมในเขตเคอคลาเรอลี โดยเสียชีวิตบังกาโลวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการในเขตอุทยานแห่งชาติอิกเนดา กระแสน้ำยังพาดพาท่อนซูงจากพื้นที่กิจการตัดไม้ก่อนที่ท่อนซุงในกระแสน้ำเหล่านี้จะ พัดพา ทำลาย สิ่งปลูกสร้างจนเป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิต [21]

ในวันที่ 6 กันยายน น้ำท่วมเขตอิคิเตลลิ [22], อัรนาวัตเกย, บาชักเซอเฮีย และ กุชุกเชมีเช ในเมืองอิสตันจากฝนตกหนัก มีผู้เสียชีวต 2 ราย บาดเจ็บ 31 คน [23] เหยื่อรายแรกเป็นชาวกีนีเสียชีวิตหลังจากติดในชั้นไต้ดินในอพาร์ทเมนต์ รายที่สองเป้นผู้หญิงเสียชีวิตจากกระแสน้ำพัด ทั้งสองเสียชีวิตในเขตกุชุกเชมีเช อุทกภัยในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและร้านค้ากว่า 1,750 หลัง [24] นายกเทศมนตรีเมืองอิสตันบูล ดาวุด กูล ได้ออกมากล่าวว่าฝนตกในครั้งนี้มีปริมาณน้ำฝนเท่ากับปริมาณฝนทั้งเดือนกันยายนและตกลงมาในช่วงเวลาเพียง 6 ชม [25]และทางการได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยให้ที่พักพิงและความปลอดภัยแก้ผู้ประสบอุทกภัย [26]

บัลแกเรีย

หมู่บ้านใกล้เคียงทะเลดำในเขตเบอรกัส รวมถึงหมู่บ้านคอสติ และ อาราปยา ถูกน้ำท่วม กระแสน้ำได้ทำลายสะพานในพื้นที่ซาเรโวพัดพาประชาชน 3 คน ไปกับกระแสน้ำ และอีกคนจมน้ำใกล้กับเขตหมู่บ้าน ปริมาณน้ำฝนที่ตกในหมู่บ้านคอสติสูงถึง 311 มม. (12.2 นิ้ว) คิดเป็น 420% ของปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของเดือนกันยายน ในเมืองอัทโธโปลปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ 196 มม. (77นิ้ว) คิดเป็น 350% ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งเดือน ส่วนในเมืองแกรมาติโคโว ปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ 275 มม. (10.8 นิ้ว) คิดเป็น 368% ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งเดือน ในเมืองซาเรโซมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดเป็นสถิตประเทศ โดยอยู่ที่ 330 มม. (13 นิ้ว) โดยคิดเป็น 40% ของปริมาณน้ำฝนทั้งปี และตกภายใน 20 ชม ทางการได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมืออุทกภัยที่เกิดขึ้น [27]

ในช่วงเวลาเดียวกันได้เกิดพายุหมุนขนาด 80 เมตร ในทะเลใกล้เมืองทูเลโนโว ในภาพตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ [28]

ในพื้นที่ภาคไต้บริเวณชายฝั่งทะเลดำได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างมาก แม่น้ำได้เอ่อล้นท่วมริมฝั่งทำลายสะพานและสิ่งปลูกสร้างรอบริทฝั่งแม่น้ำ สร้างอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้การกูภัยเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยประมาณการผุ้ได้รับผลกระทบกว่า 4.000 คน [29]

ลิเบีย

ในช่วงต้นลิเบียได้ประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 9 กันยายน [30]บริษํทน้ำมันแห่งชาติลิเบียได้ประกาศให้คลังน้ำมันหยุดทำงานในเมืองราสลานุฟ, ซุยตินา. เบรกา และ ซิดรา โดยคลังน้ำมันใน ราสลานุฟ, เบรกา และ ซิดรา [31]ได้เปิดทำการอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 กันยายน และ คลังน้ำมันในเมืองซุยตินาได้เปิดทำการเมื่อ 13 กันยายน [32]

เขื่อนเดอรนาแตก

ในคืนวันที่ 10-11 กันยายน ค.ศ 2023 เขื่อนเดอร์นา (อีกชื่อคือ เบลัด[33]) และเขื่อนมอนซุร์ (หรือ อาบู มอนซุร์[34]) ได้พังทลายลงมา ส่งผลให้มวลน้ำกว่า 30 ล้านลุกบาศ์กเมตรไหล่ลงมาตามแม่น้ำ วาดิ เดอรนา [35] ทำให้น้ำไหล่เข้าท่วมสองฝั่งแม่น้ำอย่างฉับพลันโดยระดับน้ำสูงถึง 50 เมตร มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,252 คน [36]และกว่า สามหมื่นคนไร้ที่อยู่อาศัย

ก่อนที่จะเกิดพายุทางการได้ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่โดยห้ามไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านหลังสี่ทุ่มเมื่อวันที่ 10 กันยายน [37]ต่อมาได้มีผู้ได้ยินเสียงเหมือนระเบิดดังขณะที่เขื่อนได้แตกออก [38]พร้อมคลิปวิดิโอแสดงน้ำท่วมพื้นที่เดอรนาอย่างรวดเร็ว[39]เมื่อเวลาตีสาม วันที่ 11 กันยายน ตามเวลาลิเบีย นายกรัฐมนตรีลิเบียฮามาดาได้กล่าวว่ามวลน้ำได้กวาดล้างล้านเรือของประชาชน ในขณะที่คลิปวิดิโอในโซเชียลมีเดียได้แสดงให้เห็นรถยนต์ถูกพัดจมในกระแสน้ำ [40] สะพานสี่แห่งถูกทำลาย รัฐมนตรีกระทรวงการบิน ฮิชาม ชคิอวต ได้กล่าวว่าดูเหมือนเมืองเดอรนาตอนนี้กำลังถูกถล่มด้วยซึนามี 25%ของเมืองได้หายไป [41]ในขณะที่เมืองส่วนใหญ่กำลังถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าสูทะเลเมมดิเตอเรเนียน [42]

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โอทมาน อับดุลจาลิล กล่าวว่าในเมืองเดอร์นาแห่งเดียวมีผู้สูญหายกว่า 6,000 ราย [43]นายกเทศมนรตรีเมืองเดอร์นา อับดุลเมนาม อัลไกติ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลอาราบิยาว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดาอาจจะสูงถึง 18,000 ถึง 20,000 ราย [44] นับเป็นหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมดของเมือง [45]มีเพียง 3 เขตจากทั้งหมด 10 เขตของเมืองที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ถนนทางเข้าเมือง 5 สายถูกทำลายจากทั้งหมด 7 สาย [46] โดยในเมืองเดอรนามีอาคารทั้งหมด 6,142 หลัง ได้รับความเสียหายไป 1,500 หลัง ถูกทำลายอย่างราบคาบ 891 หลัง ถูกทำลายบางส่วน 211 หลัง จมอยู่ในโคลน 398 หลัง [47] กว่า 6 ตารางกิโลเมตรจมอยู่ไต้น้ำ [48]

น้ำท่วมได้สร้างความเสียหายจนโรงพยาบาลไม่สามารถใช้งานได้ ห้องเก็บศพได้เต็มอย่างรวดเร็ว จนต้องนำมาพมาพักไว้ตามทางเดิน [49]ในจตุรัสกลางเมืองจนต้องมีการระบายศพไปยังเมืองโตบรุก[50] ศพมากว่า 1000 ร่างถูกฝังในหลุมขนาดใหญ่[51] ได้มีการจัดหน่วยเก็บศพที่ถูกกระแสน้ำพัดพากลับสู่ทะล[52]โดยกว่า 200 ศพลอยไกลจากเมืองเดอรนากว่า 20 กิโลเมตร[53] หลายศพลอบไปไกลกว่า 100 กิโลเมตร [54]หลายรายติดอยู่ภายในรถที่ถูกกระแสน้ำพัดจมลงไปในทะเล[55] มีผู้รอดชีวิต 1 รายที่ลอยไปไกลจากชายฝั่งเมืองเดอรนากว่า 20 กิโลเมตรและได้รับการช่วยเหลือ[56]

สาเหตุที่อุทกภัยสร้างความเสียหายได้มากเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวขาดการดูแลจากทางการมานานในช่วงของสมัยกัดดาฟี[57] และเมืองที่ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมือง เป็นผลให้มีการแบ่งแยกประเทศเป็นตะวันตกและตะวันออก[58] ภายหลังจากที่รัฐบาลกัดดาฟีถูกล้มล้างเมืองก็ถูกเปลี่ยนผู้นำมาแล้วกว่า 4 ครั้ง เขื่อนที่พังทลายลงนั้นสร้างโดยบริษัท Hidrotehnika-Hidroenergetika [59]สัญชาติยูโกสลาเวียตั้งแต่มี ค.ศ. 1973 ถึงปี 1977 เพื่อควบคุมระดับน้ำ [60]ใช้ในการกสิกรรมและการปันน้ำไปยังเมืองรอบๆ โดยมีขนาดสูง 75 เมตร กว้าง 45 เมตร

เขื่อนเดอรนากักเก็บน้ำกว่า 1.5 ล้านลุกบาศ์กเมตร ส่วนเขื่อนมอนซูรกักเก็กน้ำได้มากถึง 22.5 ลูกบาศ์กเมตร [61] เขื่อนทั้งสองเคยได้รับความเสียหายจากพายุในปี ค.ศ. 1968 รอยร้ายได้รับการรายงานเมื่อปี ค.ศ.1998 และทางการรายงานว่าเขื่อนไมได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 แม้ว่าจะได้รับงบซ่อมแซมสูงถึง 2 ล้านยูโรเมื่อปี ค.ศ. 2012 และ 2013 [62] แต่อย่างไรก็ตามได้มีบริษัทก่อสร้าง อัสเรลจากประเทศตุรกี ได้ออกมาประกาศว่าบริษทัได้รับสัญญาเพื่อซ่อมบำรุงและสร้างเขื่อนอีกแห่งเมือปี 2007 และ เสร็จสิ้นเมื่อปี 2012[63] แต่ทางการออกมาปฎิเสธ[64]โดยกล่าวว่า บริษทัได้หยุดงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 เนื่องจากสงครามกลางเมืองได้อุบัติขึ้น [65]

เมื่อปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอุมัรอัลมุกตัรในเมืองเบยดาประเทศลิเบียได้ออกมาเตือนว่าเขื่อนควรได้รับการการดูแลอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีความเสียงสูงมากที่จะเกิดน้ำท่วม [66]และ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรีบซ่อมบำรุงรักษาโดยด่วนโดยในเอกสารได้ระบุว่า น้ำท่วมที่มีความเสี่ยงจะเกิดนั้นอยู่ในระดับ "หายนะ"[67] แม่น้ำวารดีเดอนาเป็นที่รู้กันว่าเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม โดยในอดีตเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ถึง 4 ครั้งในช่วง ค.ศ 1942 ถึง ค.ศ. 2011 [68]โดยเชื่อว่าเขื่อนการพังทลายของเขื่อนมันซูรที่จุดเชื่อมต่อของสองแม่น้ำย่อย[69] นั้นได้ปล่อยมวลน้ำจำนวนมากมุ่งสู่ทะเลซึ่งเกินกว่าที่เขื่อนเดอรนาจะรับได้ไหวจนพังทลายในที่สุด [70]จากข้อมูลของกาชาดกล่าวว่าการเขื่อนที่แตกนั้นได้สร้างคลื่นยักษ์ที่สูงกว่า 7 เมตร

พื้นที่อื่นๆของลิเบีย

ปริมาณน้ำฝนกว่า 170 มม.เข้าท่วมพื้นที่อัลอับรัก พยานเหตุการณ์ได้บอกกับนักข่าวรอยเตอร์ว่าน้ำท่วมมีความสูงถึง 3 เมตร นอกจากนี้ยังท่วมพื้นที่โทบรุก ทักนิส อัลบายาดา กันดูลา เมอชิลี รวมถึงเขตจะบัลอักดัร และใน มิสราตาทางตะวันตก ใน เมืองอัลวิรดายามีบ้านเรือนถูกกระแสน้ำทำลายไป 50 หลัง มีรายงานผู้เสียชีวิต 27 ราย และ จำนวนมากได้สูญหาย

เมืองซูซามีผู้เสียชีวิต 19 ราย

เมืองโอมัรอัลมุกตารและเมืองชะหัตมีผู้เสียชีวิต 7 ราย

เมืองมัรจมีผู้เสียชีวิต 1 ราย เมืองอัลเฟยเดียมีผู้เสียชีวิต 8 ราย

ในเมืองบัยดาโรงพยาบาลถูกสั่งให้อพยพเนื่องจากน้ำท่วมฉับพลัน มีผู้เสียชีวิกว่า 200 คนจำนวนมากสูญหาย โดยน้ำฝนที่ตกมีปริมาณสูงถึง 414 มม. ซึ่งเท้่ากับ 77% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกทั้งปี บ้านเรือนกว่า 5.000 หลัง ถนนกว่า 35 กม. ระบบท่อรายน้ำกว่า 20 กม. ได้ถูกทำลาย

ในเมืองมาราวาฟาร์มกว่า 60 แห่งได้ถูกทำลาย

พื้นที่โบราณคดีหลายแห่งในลิเบียตะวันออกได้รับความเสียหายรวมถึงโบราณสถานไซรีนที่ถูกฝังอยู่ในโคลนตม บางส่วนถูกพัดพาไปยังเขตมันซูรา น้ำท่วมยังเปิดเผยส่วนโบราณสถานที่ยังไม่ได้ทำการขุดอีกด้วย กลุ่มอินเตอร์แนชั่นแนล ไครซฺิส ได้ออกมาเตือนว่าโบราณสถานอยู่ในความเสี่ยงที่จะพังทลายลงมาจากการถูกน้ำกัดเซาะโครงสร้าง นอกจากนี้ยังมีการรายงานความเสียหายต่อโบราณสถานอพอลโลเนีย อัทรุน และมีโบราณวัตถุหลายชิ้นถูกกระแสน้ำพัดพาลงสู่ทะเล

ภาพรวมความเสียหายทั้งประเทศ

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถือว่าหนักที่สุดในพื้นที่ไครีไนก้าตั้งแต่แผ่นดินไหวมัรจเมื่อปี ค.ศ.1963

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ทางการได้รายงานยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 4,199 คน โดยเสียชีวิตนอกพื้นที่เดอรนา 170 คน และมีผู้สูญหายกว่า 10,000-100,000 ราย ทางการได้รวบรวมสถิติและรายงานผลอย่างเป็นทางการว่ามีผู้บาดเจ็บกว่า 7,000 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 46,000 ราย ซึ่งเป็นเด็ก 16,000 ราย โรงเรียนได้รับผลกระทบกว่า 117 แห่ง แหละ 4 แห่งถูกทำลายทั้งหมด 80 แห่งเสียหายบางส่วน โรงพยาบาล 10 แห่งและสถาบันทางการแพทย์ต้องถูกปิดทำการ อาสาสมัครจันทร์เสี้ยวแดงของลิเบียเสียชีวิต 3 รายระหว่างการปฎิบัติงาน

สมาคมฟุตบอลลิเบียได้รายงานการยืนยันการเสีียชีวิของนักเตะ 4 รายได้แก่ ชาฮีน อัลจามีน จากทีม อัลทาฮิดดิ เมืองเบงกาซี่ , มอนเดอร ซาดากะ จากทีมดารเนส เมืองเดอรนา พร้อมพี่น้องอีกสองคน สาและ และ ไอยุบ ซาซิ ซึ่งเป็นสมาชิกทีมนักเตะเยาวชนดารเนสจากเมืองเดอรนา และ อิบราฮิม อัลฆาซิริ จากทีม นูซุร มัรตูบา ส่วนสนามกีฬาเดอรนาสเตเดี่ยมได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากน้ำท่วม

มีชาวต่างชาติ 400 รายเสียชีวิตจากน้ำท่วม รวมถึงผู้อพยพ 276 รายจากซูดาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุแดเนียล https://www.copernicus.eu/en/media/image-day-galle... https://web.archive.org/web/20230912043534/https:/... https://www.theguardian.com/world/2023/sep/06/uk-h... https://web.archive.org/web/20230910005413/https:/... https://news.sky.com/story/uk-heatwave-what-is-an-... https://web.archive.org/web/20230907154254/https:/... https://nos.nl/artikel/2489351-na-bosbranden-kampt... https://web.archive.org/web/20230911020847/https:/... https://www.ksta.de/panorama/newsblog-unwetter-reg... https://earthobservatory.nasa.gov/images/151807/a-...