ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุโซนร้อนนกเต็น_(พ.ศ._2554)

แผนที่แสดงเส้นทางและความรุนแรงของพายุตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของฟิลิปปินส์[2] ระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกในอีกหลายวันถัดมา และในวันที่ 24 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวซึ่งเป็นพายุดีเปรสชัน[3] วันรุ่งขึ้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชัน[4] อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง สำนักงานด้านบรรยากาศ ภูมิฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวที่เป็นพายุดีเปรสชัน และตั้งชื่อว่า "Juaning"[5] ระบบดังกล่าวเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงเที่ยงคืนของวันนั้น JMA ได้ยกระดับระบบดังกล่าวเป็น พายุหมุนเขตร้อน และตั้งชื่อว่า นกเตน[6]

วันที่ 27 กรกฎาคม JMA รายงานว่า นกเตนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นและยกระดับความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง [7]อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา JTWC รายงานว่า นกเตนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 อย่างรวดเร็ว และเริ่มขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์และค่อยอ่อนกำลังลง[8] ในวันเดียวกัน JMA รายงานว่า นกเตนพัดออกจากเกาะลูซอนแต่ยังคงมีความรุนแรงเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงอยู่[9] อย่างไรก็ตาม ชั่วข้ามคืน พายุกลับอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและ JMA ลดระดับพายุลงเหลือพายุหมุนเขตร้อนกำลังเบาในวันรุ่งขึ้น[10]

วันที่ 29 กรกฎาคม พายุกลับค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งและมุ่งหน้าเข้าสู่ชายฝั่งทางใต้ของจีน และขึ้นฝั่งที่ฉงไห่[11] วันเดียวกัน พายุทวีความรุนแรงขึ้นขณะพัดอยู่เหนือพื้นดินและมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังไหโข่ว เมืองหลวงของมณฑลไหหนาน[12] พายุดังกล่าวอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และเที่ยงคืนวันนั้น JMA ซึ่งออกประกาศเตือนครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับระบบ ลดความรุนแรงลงเหลือหย่อมความกดอากาศต่ำ[13]

ใกล้เคียง

พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) พายุโซนร้อนแฮเรียต พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555) พายุโซนร้อนเมกี (พ.ศ. 2565) พายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560) พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา พายุโซนร้อนวาชิ (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงเลกีมา พายุโซนร้อน