ประวัติพายุ ของ พายุโซนร้อนแฮเรียต

พายุนี้เริ่มก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชั่น 78W ตามลำดับการตั้งชื่อนานาชาติ หรือ 6225 ตามลำดับการตั้งชื่อของ JMA (อุตุนิยมวิทยาประเทศญี่ปุ่น)[1] ในทะเลจีนใต้ตอนล่างนอกชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2505 แล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้ามาในอ่าวไทย และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนนอกชายฝั่งจังหวัดสงขลา[2] จากนั้นก็เปลี่ยนทิศทางตรงมายังจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศไทยในตอนค่ำของวันที่ 25 ตุลาคม ที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความเร็วลมสูงสุดวัดที่สถานีตรวจอากาศนครศรีธรรมราชได้ 95 กม.ต่อชม.[3] หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนผ่านจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และพังงา ลงสู่ทะเลอันดามันในวันที่ 26 ตุลาคม ก่อนจะสลายตัวไปในอ่าวเบงกอลใกล้กับบังกลาเทศในวันที่ 30 ตุลาคม[4] พายุโซนร้อนแฮเรียตได้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยในขณะขึ้นฝั่งพายุมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 กิโลเมตร [5] ก่อให้เกิดฝนตกหนัก คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง ลมกระโชกแรง และน้ำท่วมอย่างฉับพลัน

ใกล้เคียง

พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555) พายุโซนร้อนแฮเรียต พายุโซนร้อนเมกี (พ.ศ. 2565) พายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560) พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา พายุโซนร้อนวาชิ (พ.ศ. 2554) พายุโซนร้อนกำลังแรงเลกีมา พายุโซนร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุโซนร้อนแฮเรียต http://disaster-alarms.blogspot.com/p/blog-page_72... http://paipibat.com/?page_id=984 http://board.palungjit.com/f178/%E0%B8%82%E0%B9%89... http://www.tungsong.com/NakhonSri/Nakhon_slogan/Hi... http://archive.is/20130610040958/www.m-culture.in.... http://www.oknation.net/blog/print.php?id=757961 http://region.nesdb.go.th/SESO/research_south/dev_... http://tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Cmagazines%5C... http://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Ccyclones... http://www2.tmd.go.th/webboard/show.php?Category=m...