ประวัติ ของ พายุไต้ฝุ่นทุเรียน

เส้นทางของพายุ

ไต้ฝุ่นทุเรียนเริ่มก่อนตัวขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐชูก (Chuuk) แห่งสหพันธรัฐไมโครนีเซียและถูกประกาศเป็นดีเปรสชันในร้อนในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) หลังจากนั้น 1 วันศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นได้ประกาศเตือนว่าพายุมีการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่รัฐแยป (Yap)[5] ดีเปรสชั่นได้ทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องมาจากอุณหภูมิสูงบนพื้นผิวทะเลและมีเมฆที่มีความกดอากาศสูงและมีลมแรงพัดออกมา ตามรายงานของ JMA[6] ดีเปรสชั่นได้กลายเป็นพายุเขตร้อนในตอนบ่ายของวันที่ 26 พฤศจิกายน และถูกตั้งชื่อว่าทุเรียน[7]

ในการเคลื่อนที่จากตะวันตกไปตะวันตกเฉียงเหนือ พายุได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆจนกลายเป็นพายุเขตร้อนที่รุนแรงมากในวันที่ 27 พฤศจิกายน[7], และวันต่อมามันถูกตั้งชื่อว่า Reming โดย PAGASA เมื่อมันเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์ หลังวันที่ 28 พฤศจิกายน JMA และ JTWC ได้เลื่อนให้พายุเป็นไต้ฝุ่นขณะที่มันยังเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์[7] ในวันที่ 29 พฤศจิกายนไต้ฝุ่นได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น JMA แจ้งว่าไต้ฝุ่นมีความเร็วลมถึง 100 นอต[7] และ JTWC ได้จัดระดับโดยใช้ Dvorak เทคนิคว่าอยู่ในระดับ 6.5 (127 kt) จากดาวเทียม ใน 6 ชั่วโมงไต้ฝุ่นทุเรียนทวีความรุนแรงจาก 90 kt ถึง 125 kt ไต้ฝุ่นอ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อขึ้นฝั่ง แต่ก็กลับทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็ว

PAGASA อ้างว่าซูเปอร์ไต้ฝุ่นทุเรียนขึ้นฝั่งในตอนเช้าของวันที่ 30 พฤศจิกายน ทางตอนใต้ของคาตันดัวเนส ถึงแม้ว่า JMA และ JTWC ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ก็ตาม ซูเปอร์ไต้ฝุ่นทุเรียนยังขึ้นฝั่งในที่อื่นอีกหลังพัดข้าม Lagonoy Gulf ในทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัลไบ หลังจากนั้นซูเปอร์ไต้ฝุ่นได้อ่อนตัวลง JTWC ได้ลดระดับให้ทุเรียนกลับเป็นไต้ฝุ่นอีกครั้ง ไต้ฝุ่นได้เคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันตก ขึ้นบกที่ Bondoc Peninsula ใน Quezon, Marinduque และที่สุดท้ายที่โอเรียลทอล มินโดโรก่อนเคลื่อนตัวไปทางทะเลจีนใต้

จากการเผชิญหน้ากับอากาศแห้งและวินด์ เชียร์แนวดิ่ง ทำให้ทุเรียนอ่อนกำลังลงเล็กน้อยแต่ก็กลับทวีความรุนแรงอย่างช้าๆเมื่อเข้าใกล้ประเทศเวียดนาม ไต้ฝุ่นได้เปลี่ยนทิศทางไปทางตะววันตกเฉียงใต้เล็กน้อยเข้าสู่ญาจางและนครโฮจิมินห์ในวันที่ 3 ธันวาคม ในที่สุดไต้ฝุ่นทุเรียนก็อ่อนกำลังอีกครั้ง และในวันที่ 4 ธันวาคม JMA ได้ลดระดับลงเป็นพายุเขตร้อนที่รุนแรง[7] พายุยังคงความรุนแรงเคลื่อนที่เลียบชายฝั่งเวียดนามไปทางตะวันตกเฉียงใต้ หลังจากทวีความรุนแรงได้ชั่วครู่ ไต้ฝุ่นก็ขึ้นฝั่งครั้งสุดท้ายที่จังหวัดเบนแจในวันที่ 5 ธันวาคม ก่อนจะอ่อนกำลังอย่างรวดเร็ว JMA ได้ลดระดับลงเป็นพายุเขตร้อน[7] JMA และ JTWC รายงานครั้งสุดท้ายว่าทุเรียนจะเข้าสู่อ่าวไทยและอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่นเขตร้อน ทุเรียนได้พัดข้ามภาคใต้ของประเทศไทยเคลื่อนตัวสู่อ่าวเบงกอล[7]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นทุเรียน http://www.cma.gov.cn/qxxw/t20061213_171681.phtml http://www.iht.com/articles/2006/12/05/news/storm.... http://weather.unisys.com/hurricane/archive/061125... http://weather.unisys.com/hurricane/archive/061126... http://weather.unisys.com/hurricane/w_pacific/2006... http://www.nasa.gov/mission_pages/hurricanes/archi... http://www.reliefweb.int/rw/RWB.NSF/db900SID/AMMF-... http://www.reliefweb.int/rw/RWB.NSF/db900SID/EGUA-... http://www.reliefweb.int/rw/RWB.NSF/db900SID/KHII-... http://www.jma.go.jp/jma/jma-eng/jma-center/rsmc-h...