ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต_(พ.ศ._2555)

  • วันที่ 17 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางทิศตะวันออกของกวม
  • วันที่ 20 กันยายน JTWC ประกาศ TCFA พร้อม JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD), 8 ชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ทวีความรุนแรงของระบบให้เป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "ลาวิน (Lawin)" จากนั้น JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของมันเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วยเช่นกัน

ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อ "เจอลาวัต (Jelawat)" เช่นเดียวกับ JTWC

  • วันที่ 21 กันยายน เพียงครึ่งวันต่อจากนั้น JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง (STS)
  • วันที่ 23 กันยายน ทั้ง JMA และ JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นไต้ฝุ่น (TY) ขณะที่ตัวพายุเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 (Category 1 Typhoon) และกลายเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Typhoon) ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ขณะที่เริ่มมีการพัฒนาของตาพายุเล็ก ๆ บริเวณใจกลางพายุ
  • วันที่ 25 กันยายน เจอลาวัต มีขนาดกว้างขึ้น 50 กิโลเมตร หลังจากมีพนังขอบตาพายุ, JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (Category 5 Super Typhoon)
  • วันที่ 26 กันยายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Super Typhoon)
  • วันที่ 28 กันยายน หลังจากไต้ฝุ่นเจอลาวัตขึ้นฝั่งที่เกาะไต้หวัน ก็ได้อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จาก ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ 2 และเนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นทำให้มันอ่อนกำลังลงไปอีกเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)