ประวัติ ของ พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

เส้นทางของพายุ

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดหลายร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะโปนเปของสหพันธรัฐไมโครนีเซียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน และมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก สภาพแวดล้อมทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อนและได้รับการตั้งชื่อว่า ไห่เยี่ยน ในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 4 พฤศจิกายนตามเวลาสากล และได้พัฒนาเป็นพายุที่ที่มีความรุนแรงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเวลา 18:00 น. ของวันที่ 5 พฤศจิกายนตามเวลาสากล โดยในวันที่ 6 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ปรับระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 เทียบเท่าซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุได้ผ่านเกาะกายาเงลของปาเลาไม่นานหลังจากที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น หลังจากนั้นพายุยังคงพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 7 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้บันทึกความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 10 นาที ที่ 235 กม./ชม. ในเวลา 18.00 น. ตามเวลาสากล JTWC ได้ประมาณระดับความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 1 นาที ที่ 315 กม./ชม. ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่ได้สังเกตการณ์มา หลายชั่วโมงต่อมา ตาของพายุได้เคลื่อนเข้าสู่ฟิลิปปินส์ ที่เมืองกีวาน จังหวัดซีลางังซามาร์ โดยไม่ได้มีการลดระดับความรุนแรงใด ๆ ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้พัดขึ้นฝั่ง สุงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 305 กม./ชม.ทำไว้โดยเฮอริเคนคามิลล์ ในปี พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้อ่อนกำลังลงทีละน้อย และได้ขึ้นฝั่งเพิ่มเติมอีก 5 ครั้งตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และมีทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในที่สุดก็ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามในระดับพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันต่อมา

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)