พารามีเซียม
พารามีเซียม

พารามีเซียม

พารามีเซียม (อังกฤษ: Paramecium) ลักษณะภายนอก[1] ลำตัวแบนรูปไข่ ด้านหน้า (anterior end) ค่อนข้างกลม ส่วนด้านท้าย (posterior end) จะเรียวแหลมกว่า รูปร่างของลำตัวจะคล้ายรองเท้าแตะ (slipper-shaped) หรือคล้ายเท้า (foot-shaped) ทำให้มีชื่อเรียกว่า Slipper Animalcule ผนังเซลล์เป็นแบบ pellicle มีร่องเป็นรูปหกเหลี่ยมเรียงไปทั่วตัว มีความยืดหยุ่นดี และทำให้มีรูปร่างคงที่ ผิวนอกลำตัวจะมีขน (cilia) ปกคลุมอยู่โดยรอบ ทำให้เคลื่อนที่หรือว่ายน้ำได้ดี ด้านข้างลำตัวมีร่องเว้าเป็นปากเด่นชัด เรียก peristome หรือ oral groove มี cilia เรียงอยู่ภายในขอบปากโดยรอบ และมีช่องเล็ก ๆ ทางด้านท้ายลำตัว (cytoproct หรือ anal pore) สำหรับขับถ่ายลักษณะภายใน[2] ภายในเซลล์ (endoplasm) ประกอบด้วยนิวเคลียสขนาดใหญ่ (macronucleus) รูปไข่อยู่เกือบกลางเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญและการทำงานของเซลล์ มีนิวเคลียสเม็ดเล็ก (micronucleus) อยู่ใกล้ ๆ ทำหน้าที่ควบคุมการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ มี contractile vacuole ทั้งทางด้านหน้าและท้ายลำตัว ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสียคล้ายไต และมี food vacuole ที่เกิดจากการกินอาหารอยู่จำนวนมาก การเคลื่อนที่[1] พารามีเซียมจัดเป็นโปรโตซัวที่เคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็วและชอบเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยการโบกพักของ cilia  การดำรงชีวิต[1] พารามีเซียมกินอาหารแบบกลืนกิน (holozoic) โดยการโบกพักของ cilia ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำนำเอาจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่าง ๆ เข้าไปในปาก แล้วถูกล้อมรอบ กลายเป็น food vacuole เข้าไปในเซลล์