ประวัติ ของ พาร์อะมอร์

2002–2004: ช่วงก่อตั้งวง

ในปี 2002 เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ นักร้องขณะนั้นอายุ 13 ปี ย้ายมาจากเมืองเมอริเดียน รัฐมิสซิสซิปปี มายังแฟรงกลิน รัฐเทนเนสซี ที่ที่เธอได้เจอสองพี่น้อง จอช ฟาร์โร และ แซค ฟาร์โร ณ โปรแกรมเสริมของเด็กโฮมสคูลประจำสัปดาห์[6][7][8] ไม่นานหลังจากมาถึง เธอเข้าฝึกเสียงร้องกับเบรต แมนนิ่ง[9][10] โดยก่อนหน้าที่พวกเขาจะฟอร์มวงพาร์อะมอร์ วิลเลียมส์และมือเบส เจเรมี เดวิส พร้อมกับเพื่อนอีกคน คิมี รีด ได้ตั้งวงคัฟเวอร์เพลงแนวฟังก์ชื่อว่า The Factory ในขณะที่จอชและแซค ฟาร์โรนั้นซ้อมเล่นกันหลังเลิกเรียน[11][12] สมาชิกคนอื่น ๆ ที่กำลังจะเป็นสมาชิกของวงในเวลาต่อมา ในขณะนั้นพวกเขารู้สึกแปลก ๆ ที่มีนักร้องของวงเป็นผู้หญิงอย่างวิลเลียมส์ แต่เพราะพวกเขาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เธอจังเริ่มแต่งเพลงให้พวกเขา[13] วิลเลียมส์กล่าวถึงสมาชิกเมื่อเธอพบพวกเขาครั้งแรกว่า "พวกเขาเป็นคนแรกที่ฉันเจอที่หลงรักในดนตรีพอพอกับฉัน"[14]

แต่เดิม วิลเลียมส์เซ็นสัญญาศิลปินเดี่ยวกับค่ายแอตแลนติกในปี 2003 เธอถูกแนะนำแก่แมวมองค่ายแอตแลนติก ทอม สตอร์ม โดยเคนท์ มาร์คัส และ จิม ซัมวัลต์ ที่เป็นทนายของเดฟ สตีนบริงก์ และ ริชาร์ด วิลเลียมส์ แล้วจึงได้เซ็นสัญญากับค่ายโดย เจสัน โฟลม ในที่สุด เดิมทีทางค่ายวางแผนจะปั้นวิลเลียมส์ให้เป็นศิลปินเดี่ยวเพลงป็อบ แต่วิลเลียมส์ไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า เธออยากจะเล่นเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกกับเพื่อนในวง[15] ในบทสัมภาษณ์กับแมวมองของค่ายแอตแลนติกในเว็บ HitQuarters สตีฟ โรเบิร์ตสันกล่าวว่า "เธออยากจะแน่ใจว่าเราไม่ได้มองเธอเป็นเหมือน 40 อันดับเจ้าหญิงเพลงป็อบ เธออยากจะแน่ใจว่าเธอและวงของเธอจะมีโอกาสโชว์สิ่งที่พวกเขาทำได้ ซึ่งคือวงร็อกและการเขียนเพลงของพวกเขาเอง"[16] ประธานของค่าย จูลี กรีนวัลด์ และบุคลากรของค่ายตัดสินใจที่จะทำตามความต้องการของเธอ โดยแรกเริ่มทีมบริหารของวงคือ เดฟ สตีนบริงก์, ผู้จัดการวง ครีด เจฟ แฮนสัน และ ผู้ช่วยของแฮนสัน มาร์ค เมอร์คาโด[15]

แรกเริ่ม วงถูกก่อตั้งโดย จอช ฟาร์โร (มือกีตาร์ลีด/นักร้องประสาน), แซค ฟาร์โร (มือกลอง), เจเรมี เดวิส (มือเบส) และวิลเลียมส์ (นักร้องนำ) ในปี 2004[17] โดยมีเพื่อนบ้านของวิลเลียมส์ เจสัน บายนัม (มือกีตาร์ริทึ่ม) เข้ามาด้วยในเวลาต่อมา[11] เมื่อเดวิสเข้าวงมา เขาตะลึงมากที่รู้ว่ามือกลองของวงอายุแค่ 12 ปี เขากล่าวชมว่า "ผมมีความมั่นใจต่อทุกคนน้อยมาก ๆ เนื่องจากอายุของพวกเขา ผมจำได้ว่าเคยคิดว่า 'นี่มันไม่มีทางเวิร์คหรอก พวกนี้เด็กเกินไป' แต่ในวันแรกที่ได้ซ้อมด้วยกันมันยอดเยี่ยมมาก ผมรู้ได้เลยว่าเรามาถูกทางแล้ว"[14] ตามคำบอกเล่าของวิลเลียมส์ ชื่อ พาร์อะมอร์ มาจากชื่อคนใช้ของแม่ของมือเบสคนแรกของพวกเขา [10] ต่อมาวงได้เจอกับคำพ้องเสียง "paramour" (ชู้รัก) พวกเขาจึงนำชื่อนั้นมาใช้โดยสะกดว่า Paramore[13]

โดยแรกเริ่ม พาร์อะมอร์จะต้องปล่อยเพลงในค่ายแอตแลนติก แต่ฝ่ายการตลาดของค่ายตัดสินใจว่าจะดีต่อภาพลักษณ์ของวงมากกว่าหากปล่อยผ่านค่ายใหญ่ พวกเขาจึงปล่อยผลงานเพลงของพวกเขาผ่านค่ายลูก Fuel by Ramen แทน[15] ไลเยอร์ โคเฮน หัวหน้าของวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป ได้ระบุว่าให้ Fueled by Ramen เป็นค่ายที่วงควรจะเซ็นสัญญาไว้แต่แรกแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ค่ายเพลงร็อกจะสามารถเข้ากับวงได้ดีกว่า[16] จากคำกล่าวของโรเบิร์ตสัน เมื่อวงถูกนำเสนอแก่จอห์น แจนิค ซีอีโอของค่าย Fueled by Ramen "เขามองเห็นอนาคตของวงในทันที" โรเบิร์ตสันกล่าว[16] แจนิคได้ไปที่งานแสดงสด Taste of Chaos ที่ ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เพื่อดูการเล่นสด ในเดือนเมษายน ปี 2005 หลังจากการเล่นส่วนตัวในโกดังเพียงสั้น ๆ วงจึงได้เซ็นสัญญากับค่ายแอตแลนติก และ Fueled by Ramen[16][18]

เพลงแรกที่พวกเขาในวงช่วยกันแต่งคือ Conspiracy ซึ่งต่อมาถูกนำไปใส่ในอัลบัมแรกของวง และในขณะเดียวกัน พวกเขากำลังทัวร์อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งมีพ่อแม่ของวิลเลียมส์เป็นคนขับรถพาไปทัวร์ "ตอนนั้นฉันว่าพวกเราคงคิดว่ากำลังกลับบ้านไปซ้อมหลังเลิกเรียน มันคือสิ่งที่เรารักที่จะทำเพื่อความสนุก และเราก็ยังคิดแบบนั้นอยู่ ฉันไม่คิดว่าพวกเราสักคนจะนึกได้ว่ามันจะมาได้ถึงจุดจุดนี้" วิลเลียมส์กล่าว[14]

2005–2006: อัลบัม All We Know Is Falling

พาร์อะมอร์แสดงสดใน พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เดือนมกราคม 2006

พาร์อะมอร์เดินทางกลับสู่ออแลนโด รัฐฟลอริดา แต่หลังจากกลับมาไม่นาน เจเรมี เดวิส ก็ขอออกจากวงเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว สมาชิกที่เหลือ 4 คนก็เดินหน้าทำอัลบัมต่อซึ่งเขียนเพลง "All We Know" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกไปของเจเรมี และตัดสินใจให้อัลบัม All We Know Is Falling นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย[19] ปกของอัลบัมสะท้อนให้เห็นถึงความโศกเศร้าของวงซึ่งวิลเลียมส์อธิบายว่า "โซฟาบนภาพปกของอัลบัม All We Know is Falling นั้นไม่มีใครนั่งอยู่ มีแต่เงาของคนที่ลุกออกไปแล้ว ซึ่งมันสื่อถึงการจากไปของเจเรมีและความรู้สึกของเราเหมือนพื้นที่ที่ว่างเปล่า"[18]

ก่อนจะเริ่มการทัวร์ วงได้จอห์น เฮมบรี (มือเบส) เข้ามาร่วมแทนที่เดวิส[20] ในช่วงฤดูร้อน พาร์อะมอร์ได้ขึ้นแสดวงเวทีเดียวกับชิร่า เกิร์ล ใน Warped Tour ปี 2005[18] หลังจากการร้องขอจากวง เจเรมี เดวิสก็กลับมาเข้าร่วมวงอีกครั้งแทนที่เฮมบรีหลังจากออกไปได้เป็นเวลากว่า 5 เดือน[21] อัลบัม All We Know Is Falling ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 24 กรกฎาคม 2005 ติดอันดับที่ 30 ใน Billboard's Heatseekers Chart ทางวงได้ปล่อยเพลง "Pressure" ออกมาเป็นซิงเกิลแรก ที่มิวสิควิดีโอกำกับโดย เชน เดรค ในเดือนกรกฎาคม ซิงเกิล "Emergency" ถูดปล่อยออกมาเป็นซิงเกิลที่สอง มิวสิควิดีโอก็ได้ เชน เดรค มีกำกับอีกเช่นเคย และ มีฮันเตอร์ แลมป์ มือกีตาร์ริทึ่มที่มาแทนที่เจสัน บายนัมในเดือนธันวาคม 2005 อยู่ในมิวสิควิดีโอนี้ด้วย[7] ซิงเกิลที่ 3 "All We Know" ถูกปล่อยออกมาในช่วงเวลาที่จำกัด ในมิวสิควิดีโอประกอบด้วยวิดีโอการแสดงสดของวงและวิดีโอหลังเวทีต่าง ๆ หลังจากวงประสบความสำเร็จ อัลบัม All We Know Is Falling และ เพลง "Pressure" ก็ถูกรับรองให้เป็นแผ่นเสียงระดับทองโดย RIAA ในเวลาต่อมา[22]

ในเดือนมกราคม 2006 วงได้เข้าร่วมทัวร์ Winter Go West ทำให้พวกเขาได้แสดงร่วมกับวงจากซีแอตเทิลอย่าง แอมเบอร์ แปซิฟิค และ เดอะ แลชเชส[19] ในเดือนกุมภาพันธ์ เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ ได้ร่วมร้องในเพลง "Keep Dreaming Upside Down" ของอ็อกโทเบอร์ ฟอล[23] ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2006 พาร์อะมอร์ได้เล่นเปิดทัวร์ให้กับวง เบย์ไซด์[24] และ เดอะ ร็อคเก็ต ซัมเมอร์[25] วงได้คัฟเวอร์เพลง "My Hero" ของ ฟู ไฟเตอร์ส เพื่อประกอบภาพยนตร์ "Superman Returns" ซึ่งบรรจุอยู่ในอัลบัม '"Sound of Superman"' ที่ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 26 มิถุนายน 2006[26]

ในช่วงฤดูร้อนปี 2006 พาร์อะมอร์มีส่วนในการเล่นในทัวร์ Warp Tour ซึ่งนำโดย วอลคอม และ เฮิร์ลลีย์ คืนแรกในเวทีหลักนั้นจัดในวันที่จัดในบ้านเกิดของพวกเขาซึ่งคือแนชวิลล์ ระหว่างการทัวร์ใน Warped Tour วงได้ปล่อย The Summer Tic EP ซึ่งจะมีขายในช่วงทัวร์เท่านั้น[27][28] ทัวร์หลักแรกของวงในอเมริกาเริ่มในวันที่ 2 สิงหาคม 2006 โดยมีวงธีส โพนวิเดนซ์, คิวท์ อีส วอท วี เอม ฟอร์ และ ฮิต เดอะ ไลท์ ร่วมแสดงในโชว์สุดท้ายที่แนชวิลล์ ในปีเดียวกันนั้น พวกเขาถูกโหวตให้เป็น "วงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม" และ เฮย์ลีย์ถูกโหวตให้อยู่อันดับที่ 2 ของ "ผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด" โดยผู้อ่านของนิตยสารอังกฤษ Kerrang![29]

ในปี 2007 แลมป์ตัดสินใจออกจากวงไปแต่งงาน พาร์อะมอร์จึงทำวงต่อไปด้วยสมาชิก 4 คนที่เหลือ[7] พาร์อะมอร์ถูกจัดให้อยู่ในหนึ่งในสิบที่น่าจับตามองในหน้า "New Noise 2007" ของนิตยสารอังกฤษ เอ็นเอ็มอี[29] พาร์อะมอร์ได้ปรากฏชื่อในนิตยสาร Kerrang! อีกครั้ง อย่างไนก็ตาม เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์เชื่อว่าบทความนี้เป็นไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่แท้จริงของวง โดยเฉพาะเพราะที่มันเจาะจงที่เธอเป็นหลัก ภายหลังวิลเลียมส์ได้เขียนในโพสต์ไลฟ์เจอร์นัลของวงว่า "ขออภัยหากกระทบใครใน Kerrang! แต่ฉันไม่คิดว่ามีความจริงอยู่ในบทความนี้เลยสักนิดเดียว"[30] ในเดือนเมษายน เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ร่วมร้องในเพลง "Then Came To Kill" ของวงเดอะ ชาริออต[31]

2007–2008: อัลบัม Riot!

แซค แฟร์โร (มือกลอง), เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ (นักร้องนำ) และ เจเรมี เดวิส (มือเบส) แสดงสดในทัวร์ 2007 Vans Warped TourTweeter Center at the Waterfront เมืองแคมเดน รัฐนิวเจอร์ซีย์

ก่อนที่วงจะเริ่มเดินหน้าทำอัลบัมต่อไป เดวิสถูกไล่ออกจากวง จอช แฟร์โรระบุว่าเดวิสถูกไล่ออกเนื่องจาก "ขาดจรรยาบรรณและการมีส่วนร่วมในเรื่องที่ แซค เฮย์ลีย์ และผมไม่เห็นด้วย" โดยสมาชิกที่เหลือทั้งสามเดินหน้าทำอัลบัมต่อไปจนเสร็จ เมื่ออัลบัมอัดเสร็จแล้วพวกเขาต้องการมือเบสสำหรับวง โดยวิลเลียมส์ต้องการให้เดวิสกลับมารับหน้าที่มือเบสเหมือนเดิม จอชและแซค ฟาร์โรต้องการให้เทย์เลอร์ ยอร์กมารับหน้าที่เป็นมือกีตาร์ริทึ่ม เดวิสและยอร์กจึงเข้าได้ร่วมวงอีกครั้ง[21] โดยก่อนหน้าที่สองพี่น้องแฟร์โรเจอวิลเลียมส์นั้น พวกเขาเคยทำวงร่วมกับยอร์กมาก่อนแล้ว[32]

หลังจากที่ก่อนหน้าได้ นีล แอฟรอน และ ฮอเวิร์ด เบนสัน มาเป็นโปรดิวเซอร์[33] พาร์อะมอร์ได้ลงคะแนนเสียงให้อัดอัลบัมที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยมีเดวิด เบนเดธ ผู้ที่ก่อนหน้าได้ทำงานให้วงยัวร์ เวกัส และวงเบรกกิ้ง เบนจามินมาก่อน มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้[34] อัลบัมชื่อ Riot! ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 12 มิถุนายน 2007[35] อัลบัมติดชาร์ต Billboard 200 ในอันดับที่ 20 และ ชาร์ตในสหราชอาณาจักรอันดับที่ 24 อัลบัมมียอดขายกว่า 44,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรกในสหรัฐฯ[32] ชื่อว่า Riot! ถูกเลือกเพราะหมายถึง "อารมณ์อันควบคุมไม่ได้ที่ระเบิดออกมาอย่างทันทีทันใด" และยังเป็นคำที่ "คลอบคลุมอัลบัมได้ทั้งหมด"[33] ซิงเกิลแรกของอัลบัม "Misery Business" ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 21 มิถุนายน 2007 จากคำกล่าวของวิลเลียมส์ "Misery Business" เป็นเพลงที่มีความเป็นเธอมากที่สุดที่เธอเคยเขียนมา และอารมณ์ของเพลงยังเข้ากับเพื่อน ๆ ในวงได้ดีอีกด้วย[36] ในฤดูร้อนปี 2007 พาร์อะมอร์เข้าร่วมทัวร์ Waped Tour เป็นครั้งที่สาม โดยพวกเขาเขียนบันทึกประสบการ์ณในบล็อก yourhereblog ของเอ็มทีวี[37]

ในวันที่ 11 ตุลาคม 2007 มิวสิควิดีโอ "Crushcrushcrush" ออกอากาศครั้งแรกในโทรทัศน์สหรัฐฯเป็นซิงเกิลต่อมาของอัลบัม ในวิดีโอประกอบด้วยวงเล่นเพลงในทะเลทรายที่แห้งแล้งกำลังโดนสอดแนม และเริ่มก็ทำลายเครื่องดนตรีของพวกเขา ซิงเกิลถูกปล่อยในสหรัฐฯในวันที่ 19 พฤศจิกายน และ ในสหราชอาณาจักรวันที่ 12 พฤศจิกายน 2007[38] เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ถูกรับเชิญให้ร่วมร้องในเพลง "The Church Channel" และ "Plea" ของวงเซย์เอนี้ธิง ในอัลบัม In Defense of the Genre ที่ถูกปล่อยออกมาให้วันที่ 23 ตุลาคม 2007[39] วงเล่นอะคูสติกสด[40] ในบอสตันในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2007 ของสถานีวิทยุ FNX ในวันที่ 31 ธันวาคม 2007 พาร์อะมอร์แสดงในรายการ MTV New Year's Eve ซึ่งออกอากาศตั้งแต่ 11:30 ถึง 1:00[41][42]

พาร์อะมอร์ปรากฏในปกนิตยสารอัลเทอร์เนทัฟเพรส ของเดือนกุมภาพันธ์ 2008 และ ถูกโหวตให้อยู่ใน "วงยอดเยี่ยม 2007" โดยผู้อ่านอีกด้วย[43] วงได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ใน "ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม" ใน 50th Annual Grammy Award ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2008 แต่ก็ต้องแพ้ให้กับเอมี ไวน์เฮาส์ไป[44] ช่วงต้นของปี 2008 พาร์อะมอร์ได้ทัวร์ในสหราชอาณาจักรเพื่อโปรโมทอัลบัม โดยทัวร์ร่วมกับวงนิวฟาวด์ กลอรี วงคิดส์ อิน กลาส เฮาส์เซส และ วงคอนดิชั่น[45] ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2008 วงเริ่มทัวร์ยุโรป[46] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2008 วงได้ประกาศยกเลิก 6 โชว์ที่กำลังจะถึงเนื่องจากปัญหาส่วนตัว วิลเลียมส์เขียนในเว็บไซต์ของวงว่า "การหยุดพักจะให้โอกาสให้วงได้ออกห่างและแก้ไขปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ" MTV.com รายงานว่าแฟน ๆ พาร์อะมอร์ตั้งข้อสงสัยถึงอนาคตของวง และรายงานถึงข่าวลือที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องที่ จอช แฟร์โร โกรธที่สื่อนั้นให้ความสนใจแต่เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์เป็นพิเศษ[47] อย่างไรก็ตาม วงก็ได้กลับบ้านมาถ่ายทำมิวสิควิดีโอซิงเกิลที่ 4 "That's What You Get" ซึ่งถูกปล่อยออกมาใน 24 มีนาคม 2008[48]

พาร์อะมอร์ได้ทัวร์ร่วมกับจิมมี่ อีท เวิร์ลด ในสหรัฐฯในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2008 วงได้เล่นนำให้เทศกาล Give It A Name ในสหราชอาณาจักร วันที่ 10 และ 11 พฤษภาคม 2008 และยังเล่นในเวที In New Music We Trust ของ Radio 1's One Big Weekend ใน โมท พาร์ค มนฑลเคนต์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2008 พาร์อะมอร์แสดงครั้งแรกในไอร์แลนด์ ณ RDS ในดับลิน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2008 แล้วตามด้วยเล่นทัวร์ Vans Warped Tour ตั้งแต่ 1 ถึง 6 กรกฎาคม

พาร์อะมอร์ ณ The Social ออร์แลนโด, รัฐฟลอริดา วันที่ 23 เมษายน 2007

ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 กันยายน พาร์อะมอร์เริ่มทัวร์โดยใช้ชื่อว่า "The Final Riot!" ในทัวร์นี้ วงได้เล่นเพลง "Hallelujah" ของลีโอนาร์ด โคเฮนด้วย[49] ในวันที่ 2 กันยายน 2007 พาร์อะมอร์ปล่อยเสื้อฮู้ดโดยร่วมมือกับ Hurley Clothing โดยใช้ลายอัลบัม Riot! รายได้ทั้งหมดบริจาคให้กับมูลนิธิ Love146[50]

วงได้ปล่อยอัลบัมการแสดงสดชื่อ The Final Riot! ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2008 ในอัลบัมประด้วยดีวีดีของการแสดงเต็มของคอนเสิร์ตในชิคาโก และสารคดีเบื้องหลังต่าง ๆ[51] ภายหลังในวันที่ 9 เมษายน 2009 The Final Riot! ก็ได้ถูกรับรองระดับทองในสหรัฐฯ[52]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พาร์อะมอร์ http://www.alterthepress.com/2008/11/paramore-talk... http://altpress.com/apmag/235.htm http://altpress.com/news/747.htm http://www.altpress.com/features/entry/14_songs_fe... http://www.altpress.com/news/entry/archive_620 http://www.altpress.com/news/entry/fall_out_boy_pa... http://www.altpress.com/news/entry/josh_and_zac_fa... http://www.altpress.com/news/entry/paramore_announ... http://www.altpress.com/reviews/entry/riot http://audioinkradio.com/2017/05/paramore-tour-dat...