แนวคิดและการออกแบบ ของ พิคาชู

ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[2][3] พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิคาชู[4][5] ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ[6][7] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[8] แม้ว่าที่มาของชื่อเป็นเช่นนั้น แต่นิชิดะออกแบบพิคาชูรุ่นที่ 1 อ้างอิงกระรอก โดยเฉพาะแก้ม[9] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[10]

เมื่อยืนตรง พิคาชูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิคาชูเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[11] พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูไพกา มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นหลังและบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[12] ในโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างตามเพศเป็นครั้งแรก พิคาชูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิคาชูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิคาชูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิคาชูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์

เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าในแฟรนไชส์คือพิคาชู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิคาชูกลายเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อต้องการดึงดูดเหล่าผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตให้เป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีตัวพิคาชูก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์สีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[13] แม้ว่าทะจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากทั้งเด็กชายและเด็กหญิง แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของแนวคิดที่ว่าจะให้พิคาชูเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ ทางบริษัทมีส่วนในการสร้างซีรีส์อนิเมะ บริษัทโอแอลเอ็มแนะนำเกมฟรีกให้ใช้ศักยภาพของพิคาชูให้เป็นประโยชน์ และกล่าวว่าเขารู้สึกว่าเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบพิคาชู ไม่ได้สนใจมุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์อยู่แล้ว[14] เดิมพิคาชูจะมีร่างวิวัฒนาการร่างที่สองชื่อ โกโรชู ตั้งใจจะให้พัฒนาจากไรชู[15][16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิคาชู http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.animenewsnetwork.com/convention/2017/ne... http://www.askmen.com/top_10/entertainment_200/234... http://www.bizbash.com/newyork/content/editorial/6... http://www.buddytv.com/articles/heroes/more/heroes... http://archives.cnn.com/2002/SHOWBIZ/TV/07/30/cart... http://www.computerandvideogames.com/article.php?i... http://www.destructoid.com/pikachu-suicune-and-gar... http://www.escapistmagazine.com/news/view/138376-H... http://findarticles.com/p/articles/mi_m0EIN/is_200...