นิยามทั่วไป ของ พิธีศักดิ์สิทธิ์

Concise Dictionary of Religion ของ Hexam ระบุว่า Sacrament คือ "พิธีกรรมที่พระเจ้าหรือเทพเจ้ามีส่วมร่วมกระทำ" แต่ในศาสนาคริสต์ คำนี้มีนัยะเฉพาะเจาะจงกว่านี้

"หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก" นิยามศีลศักดิ์สิทธิ์ไว้ว่า "ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นเครื่องหมายทรงประสิทธิภาพของพระหรรษทาน ที่พระคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้นและได้มอบแก่พระศาสนจักร ซึ่งโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ พระศาสนจักรก็ได้รับชีวิตพระ จารีตที่แลเห็นได้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของศีลศักดิ์สิทธิ์ แสดงและทำให้พระหรรษทานนั้นเป็นปัจจุบัน ศีลศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดผลในบรรดาผู้ซึ่งรับไว้โดยมีท่าทีที่เหมาะสม"[2] ฝ่ายนิกายแองกลิคันระบุใน Book of Common Prayer ว่าพิธีศักดิ์สิทธิ์คือ "เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นได้ถึงพระคุณฝ่ายจิตวิญญาณภายใน ซึ่งพระคริสต์ได้ทรงประทานแก่เราผู้ที่พระองค์ได้สถาปนาไว้เอง เพื่อเป็นวิธีการให้เราได้รับพระคุณนั้นและเป็นคำสัญญายืนยันพวกเรา"

นิกายโรมันคาทอลิก[3] อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์[4][5] สอนว่าศีลศักดิ์สิทธิ์มี 7 ประการ คริสตจักรโมันคาทอลิกถือว่าศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นหมายรวมถึงพระคริสต์และคริสตจักรด้วย[6] นิกายแองกลิคันสอนว่า "พิธีศักดิ์สิทธิ์ที่พระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้สถาปนาไว้ตามพระกิตติคุณคือพิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิท" และสอนว่า "อีกห้าพิธีกรรมที่มักเรียกกันว่าพิธีศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่ พิธียืนยันความเชื่อ พิธีสารภาพบาป พิธีสถาปนา พิธีสมรส และพิธีเจิมครั้งสุดท้ายนั้น ไม่ต้องนับว่าเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่งพระกิตติคุณ"[7]

ใกล้เคียง

พิธีศพของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พิธีศพของกอเซม โซเลย์มอนี พิธีศพ พิธีศักดิ์สิทธิ์ วันพิธีศิวาราตรี พิธีสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 พิธีสารเกียวโต