พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน จึงได้ออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (พิเศษ) ที่ 50/19491ลงวันที่ 26 กันยายน 2495 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหาร เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นผลสมความมุ่งหมายคณะกรรมการตามคำสั่ง กห. (พิเศษ) ที่ 50/19491 ประกอบด้วยโดยให้คณะกรรมการนี้มีหน้าที่พิจารณากำหนดโครงการและงบประมาณซึ่งเกี่ยวกับการจัดหาสถานที่การก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการรวบรวมจัดหาบรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาประกอบ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารนี้ขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2495 กองทัพอากาศได้ออกคำสั่งกองทัพอากาศ (พิเศษ) ที่ 288/18709 ลงวันที่ 8 กันยายน 2495 เรื่อง ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) และได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่านคณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่านประกอบด้วยมีหน้าที่พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดนี้ได้วางรากฐานพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ โดยมุ่งหมายจัดหายุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ทุกประเภท ตามยุคตามสมัย เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เช่น เครื่องบิน เครื่องยนต์ วิทยุ อาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ มารวบรวมไว้ในครั้งแรกได้ใช้โรงงานช่างอากาศที่ 3 (โรงงานการซ่อม ชอ.โรงสังกะสีแบบแฮงการ์) ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของสนามบินดอนเมือง เป็นสถานที่ตั้งแสดงพัสดุพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ทางกระทรวงกลาโหม มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นประวัติศาสตร์ของทหาร โดยได้ตั้งกรรมการประกอบด้วยผู้แทน 3 เหล่าทัพ พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร ในการนี้กองทัพอากาศ ได้ให้เจ้ากรมช่างอากาศ (พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์) เป็นผู้แทนของ ทอ.ไปร่วมประชุม ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอของบประมาณค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ประมาณ 30 ล้านบาท เป็นค่าซื้อที่ดิน 10 ล้านบาท ค่าตกแต่งที่ดิน 5 ล้านบาท ค่าก่อสร้างอาคารแต่ละกองทัพ ๆ ละ 5 ล้านบาท กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นพ้องต้องกับคณะกรรมการ จึงได้เสนอเรื่องตามหนังสือกระทรวงกลาโหมที่ 4208/2497 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2497 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วแจ้งว่า ไม่สามารถจะหาเงินมาจ่าให้ได้ในขณะนั้น เนื่องจากเงินของประเทศอยู่ในระยะที่ขาดแคลน อาจจะมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อรับสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ กระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรที่จะระงับเรื่องนี้ไว้ก่อน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2497เห็นชอบด้วย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารจึงได้ระงับไว้ก่อนการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2501 - 2502 ในปี พ.ศ. 2501 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 86/01 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2501 เรื่องให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (สมัยจอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ได้จัดตั้งกรรมการขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของ กองทัพอากาศจากชุดก่อนคือ คณะกรรมการได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ซึ่งกำหนดไว้ทำนองเดียวกันกับคำสั่ง ทอ. (พิเศษ) ที่ 288/18709 คณะกรรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการขอสถานที่โรงเก็บกระสุนวัตถุระเบิดของกรมสรรพวุธทหารอากาศ ซึ่งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์อีก 1 โรง เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม เพราะรวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้น และผู้บัญชาการทหารอากาศได้อนุมัติแล้วในด้านการจัดหาวัสดุพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการได้ขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีวัสดุพิพิธภัณฑ์ ให้ทำบัญชีรายงานวัสดุซึ่งมีทั้ง วัสดุจริง ภาพถ่าย ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ พร้อมทั้งประวัติ แบบ ชนิด สมรรถนะ ชื่อบริษัทผู้ผลิตหรือสั่งซื้อ ปีที่ประจำการ ชื่อผู้บริจาค ให้แก่กองทัพอากาศ ราคาและอื่น ๆ และรวบรวมวัสดุเอกสารเหล่านั้นไว้ก่อน เมื่อมีสถานที่เก็บแล้วทางพิพิธภัณฑ์จึงจะขอรับมาเก็บต่อไป การดำเนินการพิพิธภัณฑ์ในระยะนี้ฝากให้อยู่ในความดูแลของกรมช่างอากาศในปี พ.ศ. 2502 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งที่ 20025/02 ให้โอนสถานที่และพัสดุพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศไปขึ้นอยู่กับ แผนกตำนานและสถิติ กองเสมียนตรา กรมสารบรรณทหารอากาศ ซึ่ง จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มาทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2502พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ นอกจากเป็นที่รวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์อันหาค่าเปรียบมิได้ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังได้มีโอกาสอันสำคัญในการช่วยเชื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ กล่าวคือ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2503 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย หัวหน้าพนักงานผู้รักษาพิพิธภัณฑ์แห่งนั้น ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดภาพเครื่องบินต่าง ๆ พร้อมกับทูลขอพระราชทานเครื่องบินแบบ สปิตไฟร์ ซึ่งกองทัพอากาศไทยเคยมีไว้ประจำการ ไปไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองแคลร์มอนต์ เนื่องจากได้ทราบว่ามีเครื่องบินชนิดนี้เก็บไว้ที่จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง สำนักเลขาธิการได้ติดต่อผ่านกระทรวงกลาโหม สอบถามมายังกองทัพอากาศว่ามีพอจัดให้ได้หรือไม่ กองทัพอากาศแจ้งไปว่าเครื่องแบบนี้ได้ปลดประจำการแล้ว มีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ พร้อมที่จะมอบให้ 1 เครื่อง เป็นชนิดไม่ติดอาวุธและอยู่ในสภาพเรียบร้อย การอนุมัติอยู่ในอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้อนุมัติและนำทูลเกล้าถวายเพื่อพระราชทานแก่พิพิธภัณฑ์เครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ต่อไป นับว่าได้สนองฝ่าละอองธุรีพระบาทล้นเกล้าล้นกระหม่อม ในการเผยแพร่เกียรติคุณ และขื่อเสียงของชาติไทยในต่างแดนอีกด้วยในปี พ.ศ. 2505 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 113/05 ลงวันที่ 27 กันยายน 2505 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ ทอ. (พล.อ.อ.บุญชู จันทรุเบกษา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ต่อจากกรรมการชุดก่อน คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ประกอบด้วย โดยให้ ผช.เสธ.ทอ.ฝ่ายยุทธบริการ เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดใหม่นี้ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ในหลักใหญ่ 2 ประการ คือสถานที่เก็บรักษาและตั้งแสดงคงใช้โรงงานการซ่อม กรมช่างอากาศ ตามเดิม ต่อมาในปี 2509 ได้ รับมอบอาคารเพิ่มเติมอีก 4 หลัง ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันด้วยกองทัพอากาศมีความจำเป็นต้องมอบพื้นที่บริเวณที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์เดิม (โรงงานกรมช่างอากาศที่ 3) ให้ใช้ประโยชน์ในกิจการบินพาณิชย์ กองทัพอากาศจึงได้พิจารณาสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ใหม่ ตั้งอยู่ด้านขวาของถนนพหลโยธิน (เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ) ห่างจากกรุงเทพ ฯ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประมาณ 24 กิโลเมตร และเยื้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศ ได้เริ่มสร้างเมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2511 แล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2511 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 6,635,000.- บาท (หกล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2512 ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[1] [2]

ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ http://books.google.com/books?id=Hex7N1hgjA8C&pg=P... http://books.google.com/books?id=tpoYBZ0i0zEC&pg=P... http://maps.google.com/maps?ll=13.919584,100.62224... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.9195... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://media.wix.com/ugd/3b4903_e391b568c5ec448085... http://www.globalguide.org?lat=13.919584&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.919584,100.622... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.rtaf.mi.th/MUSEUM/BLDG2-2.HTM