ประวัติศาสตร์ ของ พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์

Control tower on Ford Island seen in the movies Tora! Tora! Tora! and Pearl Harbor. The tower is being restored by the Pacific Aviation Museum Pearl Harbor.

ในปี ค.ศ. 1983 พิพิธภัณฑ์อากาศยานแปซิฟิก สร้างขึ้นภายในสนามบินนานาชาติฮอนาลูลู หลังจากการกดดันจากหอการค้าฮาวาย เพื่อให้สร้างพิพิธภัณฑ์การบินในฮาวาย ให้สำเร็จ[4] ในเฟสแรกของการเปิดพิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1991 โดย Frank Der Yuen.[4] ภายใต้ความคิดที่การเปิดพิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพื่อฉลองการครบรอบชัยชนะเหนือญี่ปุ่น ในค.ศ.1995[5] หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พิพิธภัณฑ์อากาศยานแปซิฟิกถูกระงับการปิดให้บริการโดยรัฐและถูกเคลื่อนย้ายไปในสองปีต่อมา[4] บางส่วนของส่วนจัดแสดงนำกลับมาโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิก ซึ่งรับผิดชอบในรายการด้านการศึกษาและทุนการศึกษาอีกด้วย[4]

ก่อนการเสร็จสมบูรณ์ของ สะพานAdmiral Clarey Bridge ในปี ค.ศ.1998 การเข้าสู่เกาะฟอร์ด ทั้งผู้ที่อาศัยและนักท่องเที่ยวต้องเข้าผ่านทางเรือเฟอร์รี่เท่านั้น[5] วุฒิสมาชิก Inouye เสนอให้มี "การฟื้นคืนชีพ" เกาะฟอร์ดโดยใช้งบประมาณ $500,000,000 ดอลล่าส์ผ่านทางกฎหมายพิเศษ 2814 U. S. Code[6] เพื่อให้สิทธิแก่กองทัพเรือในการขายที่ดินเพื่อเป็นกองทุนในการฟื้นฟู [7][8][9] ในพื้นที่ประกอบด้วยบ้านพักอาศัยใหม่ของบุคลากรของกองทัพเรือจำนวน 500 หลัง ศูนย์พัฒนาเด็กแห่งใหม่ เรื่องรับรองกองทัพเรือใหม่ และ พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ล ฮาร์เบอร์[8][9] แต่เดิมพิพิธภัณฑ์ถูกเรียกว่า พิพิธภัณฑ์การบินกองทัพแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก[9] มูลนิธิระดมทุนเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม $46 million จากหลายแหล่ง ทั้งจาก US รัฐแห่งฮาวาย รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และงานราตรีระดมทุนต่างๆ[9][10] ทั้งได้รับการสนับสนุนจาก US นักบินอวกาศกัปตัน Walter Schirra.[9] ในขณะที่เป็นผู้บริหารของSan Diego Air & Space Museum, อลัน ปาล์มเมอร์ถูกจ้างโดยกองทัพอากาศสหรัฐ ให้เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์การบิน และหลังจากนั้นถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานบริหารของพิพิธภัณฑ์ในเวลาต่อมา[5][11][12]

การวางศิลาฤกษ์ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2006 ด้วยเงินทุนการก่อสร้าง $75,000,000 ดอลลาร์ในการก่อวร้างพิพิธภัณฑ์[13][14] และเปิดตัวในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นวันที่ครบรอบ 65 ปี ของการโจมตีท่าเรื่องเพิร์ล ฮาร์เบอร์[15] ประธานพิธีการในวันนั้นคือ ประธานาธิบดีสหรัฐGeorge H.W. Bush, นายพลจัตวากองทัพบก Chuck Yeager, Brigadier General Paul Tibbets.[15] พิพิธภัณฑ์จัดแสดง โรงจอด Hangars 37, 54, และ 79 บน เกาะฟอร์ด กินเนื้อที่ครอบคลุม 16 เอเคอร์[13] ในปี ค.ศ. 2012, พิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพิร์ลฮาร์เบอร์ ถูกตั้งชื่อว่าสถาบันSmithsonian Institution ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม องค์กรSmithsonian Affiliations [16] ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2013 พิพิธภัณฑ์ได้รับนักท่องเที่ยวครบ 1 ล้านคน[17]

สิ่งอำนวยความสะดวก

The arrival of a retired Royal Australian Air Force F-111C in front of hangar 37.

เนื่องจากเป็นสถานที่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่แรกที่มีการแจ้งเตือนทางวิทยุของ โจมตีท่าเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์attack on Pearl Harbor พิพิธภัณฑ์วางแผนในการใช้งบ $7,500,000 ดอลลาร์ ในการซ่อมแซมหอบังคับการบนเกาะฟอร์ด[18] ซึ่งถูกลงทะเบียนเป็นสิ่งก่อสร้างประเภท 1 แผนอนุรักษ์ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ใน ค.ศ. 1978 และภายใต้การซ่อมแซมของบริษัท Kiewit Building Group ซึ่งเซ็นต์สัญญารับผิดชอบการสร้างอาคารของพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน[18] หอบังคับการอายุ 70 ปีและสูง 158 ฟุต (48 เมตร) ซึ่งทรุดโทรมจากบันไดเหล็กและลานจอดเครื่องบินที่ขึ้นสนิมซึ่งต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่[19] หลังจากความเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อเก็บรักษาและคงเหลือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้จึงได้มอบทุนแก่พิพิธภัณฑ์จำนวน$3,800,000 ดอลลาร์เพื่อเป็นทุนในขั้นต้นในการเริ่มโครงการ[20] หอบังคับการรวมถึงทางวิ่งเครื่องบินได้รับเลือกให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964[21] ในปี 2010 จากข้อมูลของสภาคองเกส ว่ากระทรวงกลาโหมได้บริจาคเงินเกือบ$449,000 ดอลลาร์เพื่อเพิ่มเงินทุนในการอนุรักษ์หอคอยดังกล่าว[22] โดยมีเสนอมติโดยวุฒิสมาชิกInouye และทำให้มีผู้เห็นชอบมากมายร่วมบริจาค [22] หอบังคับการยังเป็นสถานที่ประกอบในภาพยนตร์เรื่องTora! Tora! Tora! และPearl Harbor.[23]

โรงจอด Hangar 37เป็นโรงจอดเครื่องบินน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งที่เหลือรอดจากการโจมตีท่าเรื่อเพิร์ล ฮาร์เบอร์ และเป็นโรงจอดแรกที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ [24] พื้นที่ 7.25 เอเคอร์ (2.93 เฮกเตอร์) ประกอบไปด้วย 9 ส่วนจัดแสดง, 1โรงภาพยนตร์, เครื่องบังคับการจำลองการบิน, 1ร้านที่ระลึกและภัตราคาร[14] งบประมาณนการปรับปรุงพื้นที่เป็นเงินถึง $11,000,000 ดอลลาร์และได้เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลสนับสนุนและ ผ่านทางการบริจาคจากหน่วยงานในชุมชน [14] ก่อสร้างเมื่อปี1939 และโรงจอด Hangar 79,พื้นที่ 87,000 ตารางฟุด (8,100ตารางเมตร) ได้รับการบูรณะให้คงเป็นโรงจอดแต่ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงมากมายและรวมถึง ส่วนจัดแสดง เครื่องบินflying tigers ส่วนจัดแสดง เครื่องบินMiG Alley เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินและอากาศยานที่ใช้ทางราชการ[25][26][27] ห้องกระจกในโรงจอดยังคงจัดแสดงหลุมระเบิดจากเครื่องบินญี่ปุ่นจากการโจมตีในวันนั้น[27] มูลนิธิTawani Foundation บริจาค $82,500 ดอลลาร์ในการปรับปรุงโรงจอด Hangar 79.[28]

ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ http://www.bizjournals.com/pacific/blog/2013/05/pa... http://www.bizjournals.com/pacific/blog/morning_ca... http://articles.chicagotribune.com/2012-04-26/news... http://www.civilbeat.com/articles/2013/05/06/18949... http://fox40.com/2013/04/04/modesto-family-the-mil... http://geekmom.com/2013/04/pearl-harbor-historic-s... http://generalaviationnews.com/2011/12/11/control-... http://www.hawaiiactivities.com/en/hawaii/oahu/a/8... http://www.hawaiimagazine.com/blogs/hawaii_today/2... http://www.hawaiinewsnetwork.com/pacific-aviation-...