จัดแสดง ของ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย_(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พื้นที่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้พื้นที่ในการจัดแสดงนิทรรศการถูกแบ่งให้กระจายไปตามชั้นทั้ง 4 ดังต่อไปนี้[3]

  • ชั้นที่ 1 - เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ที่เปิดให้นิสิต บุคลากรภายในและหน่วยงานต่าง ๆ ใช้จัดแสดงงานศิลปะ และงานด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ[3]ห้องศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย
  • ชั้นที่ 2 - เป็นที่ตั้งของห้องจัดแสดงชื่อว่า "ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย" นำเสนอหน้าที่หลักของการเป็นมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติมาตลอด 100 ปี คือการผลิตองค์ความรู้และผลงานจากองค์ความรู้เหล่านั้น โดยจัดแสดงบนแผ่นแก้วเรียงรายตามปีนับตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 ทางเดินแผ่นแก้วจะนำผู้ชมเข้าไปภายในห้องที่จำลองร่มไม้จามจุรี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ภายในห้องนำเสนอผลงานและความสำเร็จทางวิชาการต่าง ๆ ด้วยสื่อผสมอัตโนมัติที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม (Interactive Exhibition)[3]
  • ชั้นที่ 3 - เป็นที่ตั้งของห้องจัดแสดงชื่อว่า "อุทยานจามจุรี" เป็นห้องที่จัดแสดงพัฒนาการทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงระยะเวลา 90 ปี ภายในห้องจะมีข้อมูลพร้อมภาพประกอบอธิบายให้ผู้ชมเข้าใจ มีแบบจำลองแผนผังมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่ผู้ชมสามารถเปิด-ปิด ไฟอาคารในแต่ยุคของมหาวิทยาลัย และมีห้องชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารภายในมหาวิทยาลัยด้วย
  • ชั้นที่ 4 - เป็นห้องจัดแสดงที่มีชื่อว่า "100 เรื่องจามจุรี 100 ปี จุฬาฯ" เป็นห้องที่ใช้สื่อผสมอัตโนมัติที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ (Interactive Exhibition) เพื่อจัดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของมหาวิทยาลัยกับสังคมไทย ที่สอดประสานกันอย่างแนบแน่น เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับยุครัฐนิยม การถือกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อนำชาติพ้นจากภัยจักรวรรดินิยม นิสิตจุฬาฯ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และภายในห้องจัดแสดงนี้ยังมีส่วนจัดแสดงผลผลิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกล่าวถึงประวัติและชีวิตในจุฬาฯ ของนิสิตเก่าผู้เป็นบุคคลสำคัญ[5] เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นต้น[3]
ห้องจัดแสดงในชั้นที่ 4: นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเมือง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตนิสิตกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย นับตั้งแต่สงครามมหาเอเชียบูรพาจนถึงสงครามเย็น

ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย_(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) http://www.chulamuseum.blogspot.com http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-pos... http://www.chaoprayanews.com/2014/03/26/%E0%B8%AA%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.prm.chula.ac.th/cen081.html http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3577 https://www.facebook.com/chulamuseum https://www.youtube.com/watch?v=jrwRm67TMy4&t=17s