การค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทย ของ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

ส่วนปลายของกระดูกต้นขาหลังด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอดถือเป็นหลักฐานไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทย

สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2513 หน่วยสำรวจธรณีวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบแร่ยูเรเนียมชนิดคอฟฟินไนต์เกิดร่วมกับแร่ทองแดงชนิดอะซูไรต์และมาลาไคต์ ทำให้ต่อมาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณูเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. 2518 ตลอดจน 2523 กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอริสเชียในกลุ่มซอโรพอด[1] (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน

ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์