งานสร้างภาพยนตร์ ของ พิศวาสหลอน

โฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2507 ที่ใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ปมพิศวาส"

Vertigo ผลงานระดับมาสเตอร์พิสของผู้กำกับอัจฉริยะอย่าง อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ที่บรรยายสภาพจิตใจอันเปราะบางของมนุษย์ สอดประสานกับองค์ประกอบศิลป์ได้อย่างลึกซึ้ง ส่งต่ออารมณ์ให้กับผู้ชมจมดิ่งและคล้อยตามไปกับโลกแห่งจินตภาพบนแผ่นฟีลม์

โปสเตอร์ฉบับดั้งเดิม ที่ใช้ขณะออกฉาย

จินตภาพ ถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม สร้างนัยลงในรายละเอียดของหนังได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เริ่มต้นจากภาพลายเส้นขดม้วนในดวงตาหญิงสาวระหว่างเครดิต เป็นศิลปะแบบไซคีเดลิคของซอล เบสส์ สื่อความหมายถึงความลึกลับซับซ้อน วกวนอย่างน่าพิศวง เชื่อมโยงลักษณะการจัดรูปแบบของฉากและการเคลื่อนกล้องไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่การเลือกใช้บันไดเวียนที่โค้งตัวอยู่ในหอระฆังโบสถ์ ปอยผมขดม้วนบนศีรษะของแมดเดลีน เส้นรอบวงอายุของต้นไม้ และการเลือกใช้สถานที่ถ่ายทำอย่างซานฟรานซิสโกตอกย้ำให้ผู้ชมได้วิงเวียน ชวนปวดหัวร่วมกับตัวละคร ด้วยภูมิประเทศที่มีลักษณะสูงต่ำ และเส้นทางอันลดเลี้ยวไปมา

เครื่องแต่งกาย เสริมมิติให้กับตัวละคร เป็นการเพิ่มความหมายให้แก่ผู้ที่สวมใส่โดยเฉพาะตัวนำเรื่องอย่างแมเดลีนใน ชุดเด่นๆ สามแบบคือ ชุดสูทเทาอึมครึม เป็นสีที่มีผลกระทบในเชิงจิตวิทยามากที่สุด ชุดราตรีสีดำคลุมด้วยเสื้อคลุมสีเขียวเพิ่มความรู้สึกหรูหราแต่แฝงด้วยความ ลึกลับ และเสื้อสีบลอนด์คลุมด้วยโค้ตสีขาวบ่งบอกถึงคู่ตรงข้ามสร้างความขัดแย้งในตัวเอง หนังสร้างมาจากนวนิยายในช่วงที่มีการออกฉายใหม่ๆ หนังเรื่องนี้ยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้ชมเท่าไร แต่เมื่อผ่านไปหลายปี นักวิจารณ์ภาพยนตร์ได้มีการวิเคราะห์และตีความอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนทำให้ Vertigo จัดเป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าในเวลาต่อมา