การศึกษาด้านพืชกรรมสวน ของ พืชกรรมสวน

การศึกษาด้านพืชสวนแบ่งออกได้เป็น 8 สาขาซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ 2 กลุ่มคือ พืชประดับ (ornamentals) และพืชอาหาร (edibles)

  • รุกขกรรม (Arboriculture) อันได้แก่การศึกษา การคัดเลือก การปลูก การดูแลรักษาและการโค่นต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้หลายปีมีแก่น (perennial woody plants)
  • บุษบากรรม หรือวิชาไม้ดอก (Floriculture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดด้านพืชผลไม้ดอก
  • พืชกรรมภูมิทัศน์ (Landscape horticulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดและการดูแลรักษาพืชพรรณภูมิทัศน์ (landscape plants)
  • วิชาพืชผัก (Olericulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดพืชผัก
  • วิทยาไม้ผล (Pomology) ได้แก่การผลิตและการตลาดผลไม้
  • วิชาการปลูกองุ่น (Viticulture) ได้แก่ ได้แก่การปลูกและการตลาดองุ่น
  • สรีรวิทยาหลังเก็บเกี่ยว (Postharvest physiology) ได้แก่การรักษาคุณภาพและป้องกันการเน่าเสียของผลิตผลพืชสวน

พืชกรสวนทำงานในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและสถาบันการศึกษา หรือเป็นนักสะสมเอกชน พวกเขาสามารถวิศวกรระบบพืชผล (Cropping systems engineers) ผู้จัดการธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์และเพาะเนื้อเยื่อ (ไม้ผล ผัก ไม้ดอกและหญ้า) เป็นผู้ตรวจพืชผล ที่ปรึกษาด้านการผลิต ผู้เชี่ยวชาญงานอบรม นักปรับปรุงพันธุ์ นักวิจัยและครูอาจารย์

สาขาวิชาหรืออาชีพที่สัมพันธ์เกื้อกูลกับวิชาพืชกรรมสวนรวมถึง ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยา เคมี คณิตศาสตร์ พันธุศาสตร์ สรีรวิทยา สถิติ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ การสื่อสาร การออกแบบสวน การออกแบบปลูกต้นไม้ พืชศาสตร์ วิชาในสาขาพืชกรรมสวนรวมถึง วัสดุพืชพรรณ วิชาการขยายพันธุ์พืช การผลิต การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผสมเกษร โภชนาการพืชผล กีฏวิทยา พยาธิวิทยาพืช เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ อาชีพพืชกรรมสวนในบางครั้งต้องการพื้นความรู้ในระดับปริญญโทหรือปริญญาเอก

มีการนำวิชาพืชกรรมสวนไปปฏิบัติตามสวนต่างๆ เช่น ในศูนย์เพาะชำและเรือนเพาะชำ งานที่ปฏิบัติมีตั้งแต่การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กิ่งชำไปจนถึงการทำต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มักจำหน่ายให้สวนไม้ประดับและตลาดขายต้นไม้ทั่วไป