พื้นที่พาณิชยกรรม ของ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา) พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นที่ปลูกสร้างสถานศึกษาและอีกส่วนหนึ่งให้ใช้จัดหาผลประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนซึ่งจะต้องเติบโตขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณแผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว พบหลักฐานว่ามีการปรับรูปแบบการจัดการที่ดินเชิงพาณิชยกรรมมาโดยตลอดนับแต่ประดิษฐานมหาวิทยาลัย[20][21] โดยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในเขตปทุมวัน มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ รวม 1,153 ไร่[22] โดยแต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดมี 1,309 ไร่ แต่ในปัจจุบันวัดได้ 1,153 ไร่ เพราะตัดที่ดินส่วนที่ใช้เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป[23][3]

พื้นที่พาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นแยกออกจากพื้นที่การศึกษาเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน[24] โดยพื้นที่เขตพาณิชย์จะเป็นส่วนมุมของที่ดินซึ่งมีถนนสายสำคัญตัดผ่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเดินทางและการค้าขาย โดยมีพื้นที่พาณิชย์ทั้งหมด 374 ไร่[25] ปัจจุบันสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์เหล่านี้[26]

โซนสยาม

โซนสวนหลวง-สามย่าน

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สามย่าน" สามารถอนุมานถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เพราะอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อกับสี่แยก 2 แห่ง คือแยกสามย่านและแยกปทุมวัน ทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย[34] จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[28]

  • จัตุรัสจามจุรี เป็นศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ตั้งอยู่บนมุมถนนพญาไทกับถนนพระรามที่ 4 หรือทางแยกสามย่านฝั่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรงข้ามวัดหัวลำโพง พระอารามหลวง จัตุรัสจามจุรีมีทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน นับเป็นการเชื่อมต่อกับอาคารแห่งแรกของไทย[35]
  • ตลาดสามย่าน เป็นตลาดสดในพื้นที่สามย่าน มีสองชั้น ชั้นล่างเป็นตลาดสดและชั้นบนเป็นร้านอาหาร มีพื้นที่ใช้สอย 6,200 ตารางเมตร เดิมเคยตั้งอยู่ที่แยกสามย่านติดกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปตั้งอยู่ด้านหลังสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬาลงกรณ์ 9 ใกล้กับสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง[36]
  • แอมพาร์ค เป็นศูนย์การค้าแบบเปิดโล่งตั้งอยู่ด้านข้างอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่พาณิชกรรม สวนหลวง-สามย่าน
  • พื้นพาณิชยกรรม สวนหลวง-สามย่าน ด้านหลังพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ประกอบด้วยอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดกึ่งกลางของเขตพาณิชบริเวณนี้ ทิศเหนือของอุทยานเป็นที่ตั้งของตลาดสามย่านแห่งใหม่ แหล่งธุรกิจอะไหล่เก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร ร้านอาหารและสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ทิศเหนือของอุทยาน 100 ปี เป็นที่ตั้งของย่านพาณิชกรรมแห่งใหม่ คือ สวนหลวงสแควร์ และ CU Sport Zone เป็นแหล่งรวมร้านอุปกรณ์กีฬา[37] ทั้งนี้การก่อสร้างอุทยาน 100 ปี เป็นการลดพื้นที่พาณิชกรรมเก็บรายได้ลงกว่า 29 ไร่[38]
  • อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่นันทนาการสาธารณะให้กับชุมชนสวนหลวง-สามย่านและบรรทัดทอง และเพื่อเฉลิมฉลองวาระ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[39] ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของกรุงเทพมหานคร มีแนวพื้นที่รับน้ำ (Rain Garden) และระบบระบายน้ำใต้ดิน[40]
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานครทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มองเห็นเขตธุรกิจถนนสีลม สาธรและนราธิวาสราชนครินทร์อยู่ด้านขวา (สังเกตจากตึกมหานคร)

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่เชงเกน พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.novotelbkk.com/ http://www.posttoday.com/property/mrt/news/495368 http://www.siam-square.com/ http://www.academic.chula.ac.th/elearning/distance... http://www.arts.chula.ac.th/06about/tour.html http://www.cicc.chula.ac.th/news-event/316-news-20... http://www.cu-cultural.chula.ac.th/menu/task_thh_h... http://www.cu100.chula.ac.th/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0... http://www.green.chula.ac.th/campus01.html http://www.memocent.chula.ac.th/article/%E0%B8%9E%...