สถานการณ์ปัจจุบันของบางพื้นที่เก็บ ของ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน

แผนผังของพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Olkiluoto, ฟินแลนด์

หลุม Schacht Asse II เป็นอดีตเหมืองเกลือในเทือกเขาที่ Asse ใน Lower Saxony, เยอรมนี. มันถูกกล่าวหาว่าใช้เป็นเหมืองการวิจัยตั้งแต่ปี 1965. ระหว่างปี 1967 ถึง 1978 กากกัมมันตรังสีถูกนำมาวางเพื่อการจัดเก็บ. การวิจัยชี้ให้เห็นว่าน้ำเกลือที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137, พลูโตเนียมและส๖รอนเตียม ได้รั่วไหลออกจากเหมืองตั้งแต่ปี 1988 แต่ไม่ได้รายงานจนถึงมิถุนายน 2008[21].

พื้นที่เก็บสำหรับกากกัมมันตรังสี Morsleben เป็นพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาลึกสำหรับกากกัมมันตรังสีในเหมืองหินเกลือ Bartensleben ใน Morsleben ใน Lower Saxony/เยอรมนีที่ถูกใช้ระหว่างปี 1972-1998. ตั้งแต่ปี 2003, เกลือคอนกรีต 480,000 m3 (630,000 ลูกบาศ์กหลา) ถูกสูบลงไปในหลุมเพื่อให้ระดับบนมีเสถียรภาพชั่วคราว. โดมเกลืออยู่ในสภาพพร้อมล่มสลาย

โรงงานต้นแบบการแยกของเสีย (WIPP) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาให้บริการในปี 1999 โดยการใส่หลายลูกบาศก์เมตรแรกของกากกัมมันตรังสี transuranic[22] ในชั้นลึกของเกลือใกล้เมืองคาร์ลส, รัฐนิวเม็กซิโก.

มีข้อเสนอสำหรับพื้นที่เก็บของเสียระดับสูงระหว่างประเทศในออสเตรเลีย[23] และรัสเซีย[24]. อย่างไรก็ตาม, เนื่องจากมีการนำเสนอสำหรับพื้นที่เก็บระดับโลกในประเทศออสเตรเลีย (ซึ่งไม่เคยมีการผลิตพลังงานนิวเคลียร์มาก่อนและมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยหนึ่งเครื่อง), ได้มีการคัดค้านทางการเมืองภายในประเทศอย่างมากและยั่งยืน, การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวในประเทศออสเตรเลียจึงไม่น่าจะเป็นไปได้.

ในปี 1978 กระทรวงพลังงานสหรัฐเริ่มศึกษา Yucca Mountain, ภายในขอบเขตความปลอดภัยของ'สถานีทดสอบเนวาดา'ใน Nye County รัฐเนวาดา, เพื่อพิจารณาว่ามันจะมีความเหมาะสมสำหรับทำเป็นพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาระยะยาวสำหรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วและกากกัมมันตรังสีระดับสูงหรือไม่. โครงการนี้ได้เผชิญหน้ากับการต่อต้านที่สำคัญและประสบปัญหาความล่าช้าเนื่องจากการดำเนินคดีโดย'หน่วยงานสำหรับโครงการนิวเคลียร์ของรัฐเนวาดา' (สำนักงานโครงการกากนิวเคลียร์) และอื่นๆ[25]. รัฐบาลของโอบามาปฏิเสธที่จะให้ใช้สถานที่ในข้อเสนองบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาปี 2009 ซึ่งตัดทิ้งการอุดหนุนทั้งหมดยกเว้นที่จำเป็นในการตอบคำถามจาก'คณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์', "ในขณะที่ผู้บริหารกำลังปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ที่มีต่อการกำจัดกากนิวเคลียร์"[26]. ในวันที่ 5 มีนาคม 2009, รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐ นายสตีเว่น จือ ได้กล่าวต่อวุฒิสภาว่าสถานที่ตั้งที่ Yucca Mountain ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นตัวเลือกสำหรับการจัดเก็บขยะของเครื่องปฏิกรณ์อีกต่อไป[27].

แคปซูลกากนิวเคลียร์ KBS-3 ของสวีเดน

ในเยอรมนี มีการอภิปรายทางการเมืองเกี่ยวกับการค้นหาพื้นที่เก็บขั้นสุดท้ายสำหรับกากกัมมันตรังสี, พร้อมกับการประท้วง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้าน Gorleben ในพื้นที่ Wendland ซึ่งถูกมองว่าเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เก็บขั้นสุดท้ายจนถึงปี 1990 เนื่องจากตำแหน่งของมันอยู่ในที่ห่างไกล, อยู่ในมุมเศรษฐกิจที่ตกต่ำของเยอรมนีตะวันตก, ติดกับชายแดนกับอดีตเยอรมนีตะวันออกที่ถูกปิด. หลังจากรวมประเทศ, หมู่บ้านตอนนี้อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของประเทศ, และขณะนี้ถูกใช้สำหรับการจัดเก็บชั่วคราวของกากนิวเคลียร์.

กระบวนการของการเลือกพื้นที่เก็บลึกสุดท้ายที่เหมาะสมขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการในหลายประเทศที่คาดว่าพื้นที่แรกที่จะทดสอบระบบได้คือหลังจากปี 2010[28]. สถานที่ในเมือง Onkalo ประเทศฟินแลนด์อยู่ไกลสุดถนนที่จะถูกใช้ดำเนินงาน, การฝังของเสียถูกกำหนดไว้ว่าจะเริ่มต้นในปี 2020 (การอนุมัติขั้นสุดท้ายยังคงหายไป). สวีเดนยังก้าวหน้าเป็นอย่างดีในการวางแผนสำหรับการกำจัดเชื้อเพลิงใช้แล้วโดยตรง, เพราะรัฐสภาได้ตัดสินใจแล้วว่าแผนการนี้มีความปลอดภัยที่ยอมรับได้โดยใช้เทคโนโลยี KBS-3[ต้องการอ้างอิง].

สหราชอาณาจักรได้เดินไปตามเส้นทางปัจจุบันเพื่อการกำจัดทางธรณีวิทยาตั้งแต่โครงการ Defra White Paper ปี 2008, ที่มีชื่อว่าการจัดการด้านความปลอดภัยของกากกัมมันตรังสี (อังกฤษ: Managing Radioactive Waste Safely (MRWS)). แตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ, สหราชอาณาจักรได้วางหลักการของความสมัครใจอยู่เหนือความเหมาะสมทางธรณีวิทยา. ในการแสวงหาอาสาสมัครจากสภาท้องถิ่นสำหรับระยะที่ 1 ของกระบวนการ MRWS, มีเพียงเมือง Allerdale และเมืองโคปแลนด์ที่อยู่ภายในมณฑลคัมเบรีเท่านั้นที่ยอมเป็นอาสาสมัครโดยคณะกรรมการของพวกเขา. พื้นที่เดียวกันนี้ได้รับการตรวจสอบก่อนหน้านี้และถูกปฏิเสธไปในปี 1990. ขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นขั้นตอนการคัดกรองความไม่เหมาะสมเบื้องต้นได้ดำเนินการโดย'การสำรวจทางธรณีวิทยาของอังกฤษ' (BGS) ในปี 2010. การสำรวจนี้ได้ตัดออกไปประมาณ 25% ของพื้นที่เนื่องจากการมีอยู่ของแร่ธาตุบางอย่างและชั้นหินอุ้มน้ำ. ยังมีการโต้เถียงบางอย่างเกี่ยวกับขั้นตอนนี้อันเนื่องมาจากข้อกล่าวหาที่ว่ากฏเกณฑ์การพิจารณาได้มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างชุดร่างและชุดสุดท้ายของรายงานนี้, ทำให้พื้นที่ Solway Plain ถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่, อย่างไรก็ตาม กฏเกณฑ์ได้ถูกตีพิมพ์อย่างชัดเจนใน 2008 Defra White Paper โดยมีชื่อว่า MRWS, 2 ปีก่อนที่จะถูกนำมาใช้

ในเดือนมิถุนายน 2012, นักธรณีวิทยาอิสระ, ที่ให้คำแนะนำกลุ่มหุ้นส่วน MRWS ในท้องถิ่น เวสต์คัมเบรี, ได้ให้ชื่อกลุ่มภูเขาหินสามแห่งว่าอาจจะเหมาะสำหรับเป็นที่กำจัดทางธรณีวิทยาของกากนิวเคลียร์. กลุ่มเหล่านี้คือ Mercia Mudstone Group rocks ที่อยู่ระหว่างกลุ่ม Silloth Abbeytown กับกลุ่ม Westnewton ในคัมเบรีเหนือ, และกลุ่ม Ennerdale และกลุ่ม Eskdale granites ไปทางใต้ซึ่งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติ Lake District

การตัดสินใจว่าจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปหรือไม่จะถึงกำหนดในเดือนมกราคม 2013, และจะต้องดำเนินการโดยที่ปรึกษา 7 คนเท่านั้น, ตั้งขึ้นเป็น'ผู้บริหารระดับสูงของ Allerdale และอีกเจ็ดคนจาก Copeland'. คณะมนตรีที่มีสมาชิกสิบคนของ'สภามณฑลคัมเบรี'มีสิทธ์ยับยั้งซึ่งสามารถป้องกันการต่อเนื่องในการค้นหา.

ในเดือนมกราคม 2013, สภามณฑลคัมเบรีได้ใช้อำนาจยับยั้งและปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลกลางสหราชอาณาจักรที่จะเริ่มต้นการทำงานใน'พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์เครื่องปฏิกรณ์การผลิต'ใกล้อุทยานแห่งชาติ Lake District. "สำหรับชุมชนเจ้าของบ้านใดๆ, จะมีแพคเกจผลประโยชน์ชุมชนที่สำคัญและมีมูลค่าหลายร้อยล้านปอนด์" เอ็ด ดาวี่ จากกระทรวงพลังงานกล่าว แต่ไม่น้อยกว่านั้น, หน่วยงานการบริหารและการปกครองท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งได้โหวต 7-3 คัดค้านการวิจัยต่อเนื่อง, หลังจากการรับฟังหลักฐานจากนักธรณีวิทยาอิสระว่า"ชั้นร้าวของมณฑลเป็นไปไม่ได้ที่จะมอบความไว้วางใจให้กับวัสดุที่เป็นอันตรายและความเสี่ยงที่ยาวนานนับพันปีเช่นนั้น"[29][30].

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่เชงเกน พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน http://www.mont-terri.ch/ http://www.chicagotribune.com/news/nationworld/chi... http://www.opg.com/power/nuclear/waste/dgr/index.a... http://www.springerlink.com/content/q05224t6vg1mlr... http://www.dw3d.de/dw/article/0,2144,3571028,00.ht... http://www.posiva.fi//en/research_development/onka... http://www.andra.fr/sommaire.en.php3 http://www.nea.fr/html/rwm/reports/2008/nea6433-st... http://www.ocrwm.doe.gov/factsheets/doeymp0405.sht... http://www.energy.gov/news/3414.htm