ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ พุดตาน

พุดตานเป็นพรรณไม้จัดอยู่ในวงศ์ชบา (Family Malvaceae) ไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 - 5 เมตร ตามลำต้นและกิ่งมีขน อยู่ทั่วไป

  • กิ่งพุดตาน จะมีสีเขียวอ่อนและแก่ขึ้นเป็นสีเขียวเข้มจนเปลี่ยนเป็นกิ่งแก้เต็มที่จะมีสีน้ำตาลปน มีขนสีเทาทั่วกิ่ง มีดอกออกที่ปลายกิ่ง
  • ใบพุดตาน มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก มีรูปแบบใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบใบเว้า 3 - 5 แฉก เนื้อใบมีขนสากมือ ก้านใบยาว สีเขียวสด เวลาใบดกจะดูสวยงามมาก ใบกว้างประมาณ 9-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร
  • ดอกพุดตาน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อ 1 - 3 ดอก ออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง มีริ้วประดับ 7-10 อัน ดอกมีกลีบเกลี้ยง 5 แฉก มีขนทั่วดอก มีกลีบดอกตั้งแต่ 5 กลีบไปจนถึง 10 กลีบ ตามแต่สายพันธุ์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกมียอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายดอกชบาซ้อน โดยดอกจะบานในตอนเช้าช่วง 7 - 8 นาฬิกา โดยเมื่อดอกแรกบานจะ "เป็นสีขาว" ทั่วทั้งดอก เมื่อสายดอกจะค่อยๆ เปลี่ยนสี "เป็นสีชมพูและเป็นสีชมพูเข้ม" โดยมีสีชมพูปนขาว จนชมพูทั่วทั้งดอก ใน "ตอนบ่าย" และดอกจะเปลี่ยน "เป็นสีแดงและสีแดงเข้ม" โดยมีสีแดงปนชมพู ใน "ตอนเย็น" จนกลายเป็นสีแดงเข้มทั่วทั้งดอก แล้วร่วงโรยในที่สุด พุดตานออกดอกดกตลอดทั้งปี จึงเหมาะสำหรับปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ควรมีปลูกไว้
  • ผลพุดตาน รูปทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ต้นพุดตาน ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ไม่ชอบที่แฉะหรือมีน้ำขัง ปลูกได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

การเปลี่ยนสีระหว่างวันของดอกพุดตาน