คำราชาศัพท์ ของ พูดคุย:ไดอานา_เจ้าหญิงแห่งเวลส์

ขอความเห็นด้วยค่ะ ว่าควรใช้คำราชาศัพท์เวลาพูดถึงเจ้าหญิงไดอานาหรือเปล่า เพราะตอนเสียชีวิต (สิ้นพระชนม์) ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหญิงแล้วเนื่องจากหย่ากับเจ้าฟ้าชายชาล์สแล้ว

หลังหย่า ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ครับ คงต้องเป็น "เสียชีวิต" .. --ธวัชชัย 05:33, 1 กันยายน 2005 (UTC)ถามต่อค่ะ...แล้วถ้าพูดถึงสิ่งที่ไดอานาได้ทำไว้ก่อนการหย่าละคะ จะเรียกว่าเป็นพระราชกรณียกิจหรือกิจกรรมดี ถ้าต้องแบ่งใช้ราชาศัพท์ตามช่วงต่างๆของชีวิต (เป็นเจ้าหญิง - ไม่เป็นเจ้าหญิง) คงยุ่งน่าดู???--Toutou 05:56, 1 กันยายน 2005 (UTC)นอกเรื่องหน่อยนะครับ แค่อยากรู้ว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เวลาเกิด และเสียชีิวิต นี่ต้องเป็น (ประสูติ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 - สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1997)(ประสูติ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 – เสียชีวิต 31 สิงหาคม ค.ศ. 1997)(เกิด 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 – เสียชีิวิต 31 สิงหาคม ค.ศ. 1997)อย่างที่ว่า ตอนเป็นกับตอนไม่เป็นเจ้าหญิงนะครับ --Manop 08:21, 1 กันยายน 2005 (UTC)ต้องใช้ราชาศัพท์นะครับ เนื่องจากถึงแม้ว่าหลังหย่าแล้ว ไดอาน่าและซาร่าห์ก็ยังเป็นสมาชิกแห่งพระราชวงศ์อยู่ ในฐานะที่เป็นพระมารดาแห่งรัชทายาทของอังกฤษ (ลำดับที่ 2 3 และ ลำดับที่ 5 6) เรี่องนี้สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมมีแถลงการณ์ยืนยันครับ ทั้งสองพระองค์จะพ้นจากสมาชิกภาพแห่งพระบรมราชวงศ์ในกรณีเดียวคือทรงเสกสมรสใหม่ครับ --Oong 15 สิงหาคม 2006
  • ไม่เห็นด้วย หลังหย่าแล้ว ไดอาน่าหมดความเป็นสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ (หมดความเป็น Her Royal Highness และขาดจากการเป็น member of the Royal Household). ถึงจะมีการตัดสิน ช่วง ม.ค. 2007 ว่า ไดอาน่าไม่ได้หมดความเป็นส่วนหนึ่งของ Royal Household แต่ก็มีการอุทธรณ์ จนศาลสูงสุดของอังกฤษได้กลับการตัดสินในช่วง มี.ค. 2007 ไดอาน่าเกิดเป็นสามัญชนและตายเป็นสามัญชน. (หรือใครที่เคยดูหนังเรื่อง The Queen จะจำได้ว่า ถึงแม้พระราชวงศ์จะถูกกดดันจากประชาชน ให้ทำพิธีงานศพคล้ายๆ กับว่าไดอาน่าเป็นสว่นหนึงของพระราชวงศ์ แต่ทุกฝ่ายก็ได้ยอมรัลว่าในหลักแล้ว ไดอาน่าหมดความเป็นสว่นหนึงของพระราชวงศ์)
  • ไม่ค่ิอยเห็นด้วยกับการใช้ศัพท์สามัญชนในช่วงที่เป็นสามัญชนและ ราชาศัพท์ในช่วงที่เป็นสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ อย่างสมเด็จย่าก็พระราชสมภพเป็นสามัญชน แต่บทความ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก็ใช้ ราชาศัพท์สำหรับทั้งบทความ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงหลังที่อภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ สมเด็จย่าสวรรคตในขณะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวงศ์ จึงสมควรที่จะใช้ราชาศัพท์สำหรับทั้งบทความ แต่ไดอาน่าตายขณะเป็นสามัญชน จึงสมควรที่จะใช้ศัพท์สามัญชนสำหรับทั้งบทความ. Patiwat 20:34, 18 เมษายน 2007 (UTC)
  • ขอออกความเห็นครับ ผมว่าการเรียกคำว่าตายของอดีตเชื้อพระวงศ์ ไม่น่าจะใช้สิ้นพระชนม์ เพราะตอนนั้น นางไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ครับ แต่ก็ไม่ควรจะใช้ว่า ตาย,ถึงแก่กรรม,เสียชีวิต เพราะสามคำนี้เป็นคำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป แต่ควรจะใช้อสัญกรรม,อนิจกรรมครับ หากผมพูดผิดขอให้ไปที่หน้าพูดคุยของฉันครับ Q123 ]] 12:34, 4 May 2011 (UTC)
หมายเหตุล่าสุดจากผู้แปล แม้ว่าเจ้าชายชาลส์ได้ทรงหย่าขาดจากไดอานาเมื่อ พ.ศ. 2539 แล้ว แต่ผู้แปลอนุมานว่าไดอานายังคงได้สิทธิหลายอย่างเช่นเดียวกับพระราชวงศ์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เนื่องจากได้รับพระราชทานสร้อยพระนาม Princess of Wales รวมทั้งยังได้รับตราอักษร และตราอาร์มใช้ส่วนพระองค์ ฉะนั้นผู้แปลขอใช้คำสามัญเฉพาะช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2524 แต่ผู้แปลจะเริ่มใช้คำราชาศัพท์ ตั้งแต่พระองค์เข้าพิธีอภิเษกสมรสและได้เป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์จนถึงเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ แต่จะไม่ใช้คำนำหน้าพระนามว่า "เจ้าหญิง" และ "เลดี้" ในเหตุการณ์ต่างๆ หรือในพระกรณียกิจที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2539 เนื่องจากทรงสูญเสียอิสริยศ Her Royal Highness และไม่ได้ทรงรับการแต่งตั้งอย่างให้เป็น เลดี้ อีกครั้งหนึ่งจากราชสำนักอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงสมควรใช้แต่เพียงพระนาม "ไดอานา" หรือ "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" เท่านั้น --Gils 22:27, 9 กรกฎาคม 2560 (ICT)

ใกล้เคียง