สภาวะทางเศรษฐกิจ ของ ฟร็องซัว_มีแตร็อง

การวางแผนการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ หลังจากที่นายฟร็องซัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสใหม่ คือ เริ่มระบบการโอนกิจการอุตสาหกรรมมาเป็นของรัฐ การโอนกิจการนี้ทำให้ระบบการให้สินเชื่อของประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ และการให้ค่าชดเชยแก่บรรดาผู้ถึอหุ้นในกิจการที่ถูกยึดมาเป็นของรัฐจะกระทำในลักษณะพันธบัตรรัฐบาล แต่นโยบายนี้ไม่ได้ทำให้ประเทศฝรั่งเศสขยายตัวทางเศรษฐกิจมากนัก อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเริ่มจากการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอัตราที่สูงขึ้น เป็นผลให้งบประมาณแผ่นดินขาดดุล เกิดภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากภาวะการเงินในอัตราสูง ทำให้เกิดภาวะกดดันแก่เงินฟรังก์ ก่อให้เกิดปัญหาต่อค่าเงินฟรังก์ในระบบการเงินยุโรป คือเกิดช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยในยุโรปขึ้น

ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) สภาวะเศรษฐกิจของฝรั่งเศสขยายตัวอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ1.9 การว่างงานที่เป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้นลดลง อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 2 เป็นผลจากการลดลงของระดับราคาพลังงานที่นำเข้าการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่การลงทุนขยายตัวสูงขึ้น

ใกล้เคียง

ฟร็องก์ รีเบรี ฟร็องก์ เกซีเย ฟร็องซัว ออล็องด์ ฟร็องซัว มีแตร็อง ฟร็องซิส ปีกาบียา ฟร็องซัว ราวายัก ฟร็องส์แว็งต์-กัทร์ ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู ฟร็องซัว บูเช ฟร็องซิส กอเกอแล็ง