สรีรวิทยาและการแพทย์ ของ ฟอง

การบาดเจ็บจากการเกิดฟองและพองโตในเนื้อเยื่อของร่างกาย จากกลไกของโรคจากการลดความกดอากาศ หรือ โรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้รับก๊าซเฉื่อย (ก๊าซไนโตรเจน) ภายใต้ความกดดัน (การดำน้ำของนักดำน้ำทั่วไปเป็นอากาศอัด) จนเกิดภาวะอิ่มตัวอย่างยิ่งยวด เมื่อมีการลดความกดดันอย่างรวดเร็ว (การดำขึ้นสู่ผิวน้ำ) เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออกเกิดเป็นฟองอากาศ และเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งระบบการไหลเวียนของเส้นเลือด ฟองก๊าซเกิดขึ้นเกินกว่าความสามารถของร่างกายที่จะกำจัดได้ ทำให้เนื้อเยื่อและหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและเกิดการอักเสบจากการเบียดแทรก บีบกด จากฟองอากาศ หรือการขวางการไหลเวียนของหลอดเลือด เนื้อเยื่อเกิดการขาดเลือด และเกิดการอุดตันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย[11]

ภาวะฟองอากาศอุดหลอดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อฟองอากาศถูกนำเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต และฟองอากาศหลุดเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดซึ่งมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ฟองนั้นจะผ่านได้ ภายใต้ความแตกต่างของความดัน ภาวะฟองอากาศอุดหลอดเลือดอาจเกิดขึ้นจากการรักษาอาการโรคจากการลดความกดอากาศโดยการบำบัดด้วยแรงดันบรรยากาศสูง (hyperbaric exposure) หรือการบาดเจ็บจากการขยายมากเกินไปของปอด (การบาดเจ็บจากแรงกดดัน) หรือเกิดในระหว่างการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือระหว่างการผ่าตัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟอง http://ffden-2.phys.uaf.edu/311_fall2004.web.dir/R... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29599511 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5876406 //doi.org/10.1038%2Fs41598-018-22664-4 //doi.org/10.1146%2Fannurev.fl.25.010193.003045 //www.worldcat.org/issn/2045-2322 http://www.vachiraphuket.go.th/hc/index.php?name=d... https://books.google.com/books?id=zcWLcDtwI3YC&q=A... https://www.newscientist.com/article/dn10834-starn... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1993AnRFM..25..5...