รูปแบบ ของ ฟองมัน

เครื่องหมายฟองมันที่พบทั้งหมด มี 3 แบบ คือ[1]

  • วงกลมวงเดียว
  • วงกลม 2 วงซ้อนกัน
  • วงกลมและมีจุดตรงกลาง

แบบแรกพบในสมัยสุโขทัย สองแบบหลังพบในสมัยอยุธยา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์พบทั้ง 3 แบบในสมัยสุโขทัยจะมีการเขียนอักษรอยู่ 2 ลักษณะ คือ เขียนเรียงต่อไปจนจบเรื่องโดยไม่มีการเว้นวรรค หรือ มีการเว้นวรรคควบคู่กับการใช้เครื่องหมายฟองมัน ศิลาจารึกที่พบว่ามีการใช้เครื่องหมายเหล่านี้ อาทิศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ด้านที่ 3 และ 4), ศิลาจารึกวังชิ้น, ศิลาจารึกนครชุม, ศิลาจารึกเขาสุมณกูฏ, ศิลาจารึกวัดช้างล้อม, ศิลาจารึกวัดลำปางหลวงการใช้ฟองมันสมัยสุโขทัยมีดังนี้

  • ใช้คั่นข้อความต่างภาษากัน เช่น ขึ้นต้นภาษาบาลีพอจะแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้ฟองมันคั่นไว้ หรือเมื่อจบภาษาไทยจะขึ้นภาษาบาลีก็คั่นข้อความไว้
  • ใช้นำหน้าข้อความตอนใหม่ คือเขียนติดกันไปเรื่อย ๆ เมื่อขึ้นความตอนใหม่ก็คั่นด้วยฟองมัน แล้วเขียนต่อเลย ไม่ขึ้นบรรทัดใหม่หรือย่อหน้าใหม่
  • ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นกฎหมายแต่ละมาตรา โดยจะใช้ฟองมันคั่นข้อความแล้วตามด้วยมาตรา เช่น "...ไว้กลางเมือง ๐ มาตราหนึ่ง..."
  • ใช้นำหน้าข้อความที่กล่าวถึงศักราช เช่น "...สรรพานตราย ๐ สักราชแก่พระเจ้า..."
  • ใช้นำหน้ารายการต่าง ๆ เพื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น "...๐ จรามขันอันหนึ่ง ๐ ฟูก้อนหนึ่ง ๐ หมอนอันหนึ่ง ๐ บังงาอันหนึ่ง ๐ ...."
  • ใช้แยกคำที่มีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...ญิบหมื่นสี่พันหกสิบเดือน ๐ เดือนอันพระได้เป็นพระพุท..."
  • ใช้แยกอักษรซึ่งมีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...กระทำบุนยธรรมบ่ขาดสักเมื่อ ๐ อยู่ในสองแควได้เจ็ดเข้า..."

ในสมัยอยุธยามีการเพิ่มการใช้สำหรับเริ่มเรื่องขึ้นมา และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ใช้สำหรับนำหน้าข้อย่อยแต่ละข้อเพิ่มขึ้นชื่ออื่นที่ปรากฏในเอกสารเก่านอกจากฟองมันแล้วมี ฟองมัณฑ์ ฟองมันท์ ฟองดัน ตาไก่ ตานกแก้ว[2]

ฟองมันไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xEF (239) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E4F [3]