การคุด ของ ฟันกรามซี่สุดท้าย

ฟันกรามซี่สุดท้ายบนซ้าย (ขวามือของรูป) และบนขวา (ซ้ายมือของรูป) คุดชนิดหันส่วนครอบออก ฟันกรามซี่สุดท้ายล่างซ้ายคุดชนิดวางตัวในแนวราบ และฟันกรามซี่สุดท้ายล่างขวาคุดชนิดตั้งตรง

การคุดของฟันกรามซี่สุดท้าย (หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นผ่านขอบเหงือก) สามารถจำแนกได้หลายชนิด

  • ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหน้า (mesioangular impaction) เป็นกรณีพบมากที่สุด (44%) หมายถึง ฟันนั้นหักเป็นมุมไปด้านหน้า ไปทางด้านหน้าของปาก
  • ฟันคุดชนิดตั้งตรง (vertical impaction, 38%) หมายถึง ฟันงอกไม่พ้นขอบเหงือกทั้งหมด
  • ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก (distoangular impaction, 6%) หมายถึง ฟันงอไปข้างหลัง ไปทางด้านหลังของปาก
  • ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ (horizontal impaction) เป็นกรณีพบน้อยที่สุด (3%) หมายถึง ฟันกรามทำมุม 90 องศาไปด้านข้าง เข้าไปในรากของฟันกรามซี่ที่สอง

ฟันกรามซี่สุดท้ายที่คุดอาจจำแนกโดยใช้เกณฑ์ว่าฟันนั้นยังอยู่ในขากรรไกรทั้งหมดหรือไม่ หากฟันนั้นยังหุ้มในขากรรไกรสมบูรณ์อยู่ เรียกว่า ฟันคุดโดยต้องกรอกระดูกและฟัน (bony impaction) หากฟันนั้นงอกพ้นขากรรไกร แต่ยังไม่พ้นขอบเหงือก จะเรียกว่า ฟันคุดโดยไม่ต้องกรอกระดูกและฟัน (soft tissue impaction)

ในคนไข้ส่วนน้อย ซีสต์และเนื้องอกเกิดขึ้นรอบฟันกรามซี่สุดท้ายที่คุด ซึ่งต้องผ่าตัดออก ประเมินการเกิดขึ้นของซีสต์รอบฟันคุดนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ 0.001% ถึง 11% โดยมีอัตราการเกิดสูงขึ้นในคนไข้สูงวัย โดยเสนอว่าโอกาสที่จะเกิดซีสต์หรือเนื้องอกนั้นเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่มีฟันคุด มีกรณีฟันคุด 1-2% เท่านั้นที่ส่งผลให้เกิดเนื้อมะเร็ง[3]

ฟันกรามซี่สุดท้ายคุดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบเกิดในสตรีชาวยุโรปในสมัยแมกดาลีเนียน (18,000-10,000 ปีก่อนคริสตกาล)[4]