ฟาโรห์เฮดจู_ฮอร์
ฟาโรห์เฮดจู_ฮอร์

ฟาโรห์เฮดจู_ฮอร์

Ḥr.(w)-ḥḏw
เฮดจู ฮอร์ เป็นผู้ปกครองในทางตอนเหนือของอียิปต์ตั้งแต่สมัยยุคก่อนราชวงศ์[3][4] การมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกัน พระนาม เฮดจู-ฮอร์ แปลว่า คทาแห่งฮอรัส[5]เชื่อกันว่า รัชสมัยของพระองค์อยู่ที่ราว 3250 ปีก่อนคริสตกาล แต่แทบไม่ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์เลย เนื่องจากปรากฏจารึกที่พบในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเศษเครื่องปั้นดินเผาจากทูราเท่านั้น และมีการสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์ล่างหรือพระองค์สุดท้าย หรือว่าพระองค์ทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ที่ศูนย์[ต้องการอ้างอิง]ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ ทรงเป็นที่ทราบเหยือกดินสองใบที่พระนามเซเรคของพระองค์ปรากฏอยู่ คือ เหยือกใบหนึ่งจากทูรา[6] ซึ่งตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตะวันออก และอีกใบจากอาบู ไซดาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[7]ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค นักไอยคุปต์วิทยา ถือว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ศูนย์ และระบุว่าพระองค์คือฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาช ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปกครองที่พ่ายแพ้ต่อฟาโรห์นาร์เมอร์ตามที่ปรากฏบนแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[8] และเป็นข้อคิดเห็นที่เอ็ดวิน ซี. เอ็ม. ฟาน เด็น บริงค์ เห็นด้วยในภายหลัง[9] ในทางตรงกันข้าม โทบี วิลกินสัน[10] และโจเชม คาห์ล ได้ต่างโต้แย้งว่าฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ทรงไม่ใช่ฟาโรห์จากสมัยยุคก่อนราชวงศ์ แต่เป็นผู้ปกครองของสังคมก่อนรัฐขนาดเล็กๆ ในสมัยยุคก่อนราชวงศ์และมีตำแหน่งเป็นกษัตริย์แทนไม่ทราบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ และไม่ปรากฏข้อความใดบนศิลาแห่งปาแลร์โม ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน[11] ทำให้การข้อสินนิษฐานว่าพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์นั้นทั้งของเฮ็ลท์คและฟาน เด็น บริงค์ไม่น่าจะเป็นไปได้[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ฟาโรห์ตุตันคาเมน ฟาโรห์อูนัส ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ฟาโรห์โจเซอร์ ฟาโรห์เมเนส ฟาโรห์อาโมสที่ 2