ประวัติ ของ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท_ข.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรครั้งแรกในประเทศ โดยมีชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง ขึ้นเมื่อปี 2458 โดยสโมสรที่เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นสโมสรของทหาร ตำรวจ เสือป่า และข้าราชบริพาร[3]

ต่อมา เมื่อมีการสถาปนา คณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแด่สโมสรชนะเลิศ ก็คือ ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย ให้แก่คณะฯ เพื่อจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ณ สนามเสือป่า โดยสโมสรชนะเลิศจะได้นำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจัดขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[1]

เปลื่ยนชื่อการแข่งขัน

ต่อมา ในปี 2505 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยพระราชทานเพิ่มเติม คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย เป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยยึดหลักตามแบบ ฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น[3]

ปรับปรุงการแข่งขัน

ต่อมาในปี 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ให้มีความเป็นมืออาชีพ จึงได้มีการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ต้องลดระดับและความสำคัญ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น แต่ก็ได้มีการให้สิทธิ์สโมสรที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ มาเพลย์ออฟเลื่อนชั้นกับสโมสรที่จบอันดับรองสุดท้ายในตารางของ ดิวิชั่น 1 (2540-2541) ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะให้ทั้งสโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เลื่อนชั้นทั้งคู่[4]

ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ในปี 2549 โดยมีการคัดเลือกสโมสรที่ไม่ได้จบด้วยตำแหน่งชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เข้ามาร่วมทำการแข่งขัน ก็ทำให้ระดับการแข่งขัน ลดขั้นลงไปอีก[5] เนื่องในเวลานั้น อยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างของลีก

เมื่อมีการปรับปรุงการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ให้เป็นรูปแบบลีกภูมิภาค ทำให้มีการกำหนดการเลื่อนชั้นตกชั้น โดยให้ สโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (ในบางปี จำนวนสโมสรที่เลื่อนชั้นอาจจะมีการเปลื่ยนแปลง) โดยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้ทำการยุบการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[2] ต่อมา ทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ฟุตบอลโลก 2022 ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท_ข. http://www.bccfootballclub.com/about_us/index.php http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-1... http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?top... http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?top... http://web.archive.org/web/20070429070822/http://s... http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_85.htm https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E...