ฟุตบอลทีมชาติพม่า
ฟุตบอลทีมชาติพม่า

ฟุตบอลทีมชาติพม่า

ฟุตบอลทีมชาติพม่า (อังกฤษ: Myanmar national football team; พม่า: မြန်မာ အမျိုးသား ဘောလုံးအသင်း) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศพม่า อยู่ภายใต้การควบคุมของ สหพันธ์ฟุตบอลพม่า ทีมชาติพม่ายังไม่มีผลงานในระดับโลก แต่ในระดับเอเชีย เคยได้รองชนะเลิศในการแข่งขัน เอเชียนคัพ สำหรับในระดับอาเซียน อับดับสูงสุดคือได้เข้ารอบรองชนะเลิศใน ไทเกอร์คัพซึ่งในเอเชียนคัพของเขตอาเซียน ทีมชาติพม่าถือได้ว่ามีสถิติสูงสุด โดยได้อันดับรองชนะเลิศ ใน เอเชียนคัพ 1968ในช่วงทศวรรษที่ 60-70 พม่าถือว่าเป็นทีมฟุตบอลระดับแถวหน้าของอาเซียนและทีมหนึ่งในระดับเอเชีย โดยได้แชมป์เซียปเกมส์ (กีฬาแหลมทอง) ถึง 5 สมัย แชมป์เอเชียนเกมส์ถึง 2 สมัย อีกทั้งยังเคยเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก 1972 ที่นครมิวนิก ประเทศเยอรมนีตะวันตก แต่หลังจากปี ค.ศ. 1976 เป็นต้นไปแล้ว พม่าก็เริ่มถดถอยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีปัญหาจากการรับจ้างล้มฟุตบอล รวมถึงทางรัฐบาลพม่าเองไม่ยอมเปิดให้ทีมตัวเองออกแข่งขันนอกประเทศเป็นเวลานานถึง 10 ปีด้วยกัน[1]

ฟุตบอลทีมชาติพม่า

ฉายา The White Angels
หม่อง (ฉายาในภาษาไทย)
รหัสฟีฟ่า MYA
สมาคม สหพันธ์ฟุตบอลพม่า
(MFF)
เข้าร่วม 1 (ครั้งแรกใน พ.ศ. 2511)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 164 (สิงหาคม พ.ศ. 2549, เมษายน พ.ศ. 2551)
สมาพันธ์ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
(เอเอฟซี)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 32 (พฤษภาคม พ.ศ. 2515)
ผลงานดีที่สุด รองชนะเลิศ พ.ศ. 2511
อันดับอีแอลโอ 180 (ตุลาคม พ.ศ. 2557)
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน โซ เมียต มิน
สนามเหย้า ตุวันนา สเตเดี้ยม
โบยก อองซาน สเตเดี้ยม
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 97 (เมษายน พ.ศ. 2539)
สมาพันธ์ย่อย สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน
(เอเอฟเอฟ)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 186 (มีนาคม พ.ศ. 2556)
กัปตัน ขิ่น มวง ลวิน
หัวหน้าผู้ฝึกสอน แกร์ด ไซเซ
อันดับฟีฟ่า 161 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2