ฟุตบอลทีมชาติอิรัก
ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโกสำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988)นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฉายา اسود الرافدين Usood Al Rafidain
(สิงโตแห่งเมโสโปเตเมีย)
สิงโตแห่งสองแม่น้ำ (ในภาษาไทย)
รหัสฟีฟ่า IRQ
สมาคม สมาคมฟุตบอลอิรัก
(IFA)
เข้าร่วม 1 (ครั้งแรกใน 2009)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 139 (กรกฎาคม 1996)
สมาพันธ์ เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 26 (ธันวาคม 1982)
อันดับอีแอลโอ 85 (กรกฎาคม 2016)
ผลงานดีที่สุด รอบแรก, 2009
สนามเหย้า สนามศูนย์กีฬาบัสเราะห์
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 39 (ตุลาคม 2001)
ทำประตูสูงสุด ฮุสเซ็น ซะอีด มุฮัมมัด (78)
สมาพันธ์ย่อย สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
(WAFF)
กัปตัน โมฮัมเหม็ด กาสสิด
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 86 (กุมภาพันธ์ 2006)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน บาซิม กอซิม
ติดทีมชาติสูงสุด ยูนิส มะห์มูด (148)
อันดับฟีฟ่า 77 1 (กรกฎาคม 2017)

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2