ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน

ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน (อาหรับ: المنتخب اللبناني لكرة القدم; ฝรั่งเศส: Équipe du Liban de football) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเลบานอน[2] มีฉายาคือ "ต้นซีดาร์" อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลเลบานอน (LFA) ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) อันดับโลกฟีฟ่าที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 85 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 สนามเหย้าของเลบานอนคือสนามกีฬาคามิลล์ ชามูน สปอร์ตซิตี ในเบรุต และสนามกีฬานานาชาติไซดาในไซดอน เลบานอนไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก แต่เคยเป็นเจ้าภาพ เอเชียนคัพ 2000 ซึ่งพวกเขาจบด้วยอันดับสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม เลบานอนเข้าร่วมเอเชียนเกมส์หนึ่งครั้งในปี 1998 และถูกน็อคตกรอบที่สอง เลบานอนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตกและอาหรับเนชันส์คัพเป็นประจำ โดยเคยเป็นเจ้าภาพอาหรับเนชันส์คัพ 1963 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สาม และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1964 และ 1966 เลบานอนยังเคยจบอันดับที่สามในการแข่งขันแพนอาหรับเกมส์ปี 1957 และ 1997 และเคยจบอันดับที่สี่ในปี 1961

ฟุตบอลทีมชาติเลบานอน

ฉายา منتخب الارز
The Cedars
รหัสฟีฟ่า LBN
สมาคม الاتحاد اللبناني لكرة القدم
สมาคมฟุตบอลเลบานอน
เข้าร่วม 2 (ครั้งแรกในปี 2000)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 178 (เมษายน – พฤษภาคม ค.ศ. 2011)
สมาพันธ์ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 46 (27 เมษายน ค.ศ. 1940)
ผลงานดีที่สุด รอบแบ่งกลุ่ม (2000, 2019)
อันดับอีแอลโอ 91 (27 มีนาคม ค.ศ. 2018) [1]
สนามเหย้า Camille Chamoun Sports City Stadium
Saida International Stadium
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 82 (กุมภาพันธ์, เมษายน ค.ศ. 2018)
ทำประตูสูงสุด Roda Antar (20)
สมาพันธ์ย่อย สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF)
กัปตัน Hassan Maatouk
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 164 (28 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน Miodrag Radulović
ติดทีมชาติสูงสุด Abbas Atwi (84)
อันดับฟีฟ่า 82 5 (12 เมษายน ค.ศ. 2018)

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ฟุตบอลโลก 2022 ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้