ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส
ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส (โปรตุเกส: Seleção Portuguesa de Futebol) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลระดับทีมชาติจากโปรตุเกส ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส ทีมชาติโปรตุเกสมีผลงานสูงสุดคือ ได้ที่สาม ฟุตบอลโลก 1 ครั้งในฟุตบอลโลก 1966 ชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1 ครั้งในฟุตบอลยูโร 2016 และชนะเลิศยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 ครั้งในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้ายในระดับโลก โปรตุเกสยังไม่เคยได้แชมป์ใด ๆ โปรตุเกสเคยได้อันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 2006 เข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1966 ที่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย (ที่ 3) แพ้ให้กับอังกฤษ 2–1 ต่อมาโปรตุเกสติดเข้ารอบฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1986 และ 2002 แต่ตกรอบไปตั้งแต่รอบแรกในปี ค.ศ. 2003 สหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกสตัดสินใจจ้างลูอิส ฟีลีปี สโกลารี ชาวบราซิลที่เคยนำบราซิล ได้แชมป์ในฟุตบอลโลก 2002 โดยสโกลารีนำโปรตุเกสเข้าสู่รอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่แพ้ต่อกรีซในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทำให้โปรตุเกสกลายเป็นหนึ่งในสองประเทศเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ไม่ชนะในรอบชิงชนะเลิศ[5](อีกทีมคือฝรั่งเศส) และต่อมายังทำให้ทีมเข้าสู่ฟุตบอลโลก 4 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2006 แต่หลังจากนั้นสโกลารีออกไปในปี ค.ศ. 2008 เพื่อเป็นผู้จัดการทีมเชลซี โดยได้การ์ลุช ไกรอช มาเป็นผู้จัดการคนใหม่ของทีมชาติโปรตุเกสในปี 2008 และเคยรอซได้นำทีมชาติโปรตุเกสเข้าสู่สุดท้ายในฟุตบอลโลก 2010ในฟุตบอลโลก 2006 โปรตุเกสได้รับรางวัล "ฟีฟ่าเวิลด์คัพเอนเตอร์เทนเมนต์ทีมอวอร์ด" คือ ทีมที่เล่นได้สนุกเร้าใจที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเป็นทีมสุดท้ายด้วยที่ได้รับรางวัลนี้ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป[5]โปรตุเกสเป็นแชมป์ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไปได้ 1–0 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาการแข่งขันปกติ ในนาทีที่ 109 จากแอแดร์ ถือเป็นรายการใหญ่รายการแรกและรายการเดียวถึงขณะนี้ที่โปรตุเกสคว้าชัยชนะมาได้

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส

ฉายา Selecção das Quinas[1], Os Navegadores(ผู้นำทาง)[2], A Selecção (ผู้ถูกเลือก)
ฝอยทอง (ในภาษาไทย)[3]
รหัสฟีฟ่า POR
สมาคม สหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 43 (สิงหาคม 1998)
เข้าร่วม 1 (ครั้งแรกใน 2017)
สมาพันธ์ UEFA (ยุโรป)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 2 (มิถุนาย 2006)
ผลงานดีที่สุด อันดับสาม, 2017
อันดับอีแอลโอ 11
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 3 (พฤษภาคม 2010)
ทำประตูสูงสุด คริสเตียโน โรนัลโด (95)
กัปตัน คริสเตียโน โรนัลโด
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 45 (พฤศจิกายน 1962)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ฟือร์นังดู ซังตุช
ติดทีมชาติสูงสุด คริสเตียโน โรนัลโด (162)
อันดับฟีฟ่า 5 1 (19 กันยายน 2562)[4]

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ฟุตบอลโลก 2022 ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้