ประวัติ ของ ฟูริงกะซัน

ตั้งแต่สมัยเอโดะเป็นต้นมาได้มีการใช้ประโยค ๆ นี้เพื่อให้นึกภาพลักษณ์ของกองทัพทาเคดะ เพื่อใช้กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น หรือเอาไว้พูดปิดท้ายในสถานการ์ณที่คับขันหรือคลุมเครืออีกด้วย อีกทั้งยังมีคำกล่าวเอาไว้ในบทประพันธ์ของซุนวู เรื่อง บทที่ 7 ที่ได้กล่าวเอาไว้เป็นประโยคบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องของการเดินทัพของกองทหารเอาไว้ว่า 「故其疾如風、其徐如林、侵掠如火、難知如陰、不動如山、動如雷霆。」 หรือก็คือ (ว่องไวดั่งสายลม เงียบสงบดั่งผืนป่า ดุดันดั่งไฟ รอบรู้ดั่งเงา มั่งคงดั่งภูเขา เคลื่อนไหวดั่งสายฟ้า) อีกทั้งยังมีกล่าวอ้างอิงเอาไว้อีกดังนี้ (สิ่งที่เรียกว่าสงครามนั้น คือการหลอกล่อศัตรู การเคลื่อนไหวอย่างได้เปรียบ การกระจายตัว การรวมตัว และการเปลี่ยนแปลง) ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถที่จะเปรียบได้กับวลีที่ว่า เคลื่อนไหวว่องไวดั่งสายลม วางกองกำลังได้แนบเนียนดั่งผืนป่า ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับศัตรูก็สามารถตรวจจับได้ยาก ฉวยโอกาสโจมตีด้วยพละกำลังดั่งไฟ เคลื่อนไหวออกมาโดยไม่ให้รู้ตัวดั่งเงา ทลายกลยุทธ์เบี่ยงเบนความสนใจอันชาญฉลาดของศัตรูดั่งภูเขา เจาะทะลุทะลวงความคาดหมายของศัตรูโดยไม่ทันตั้งตัวตั้งแต่เริ่มการโจมตีดั่งสายฟ้าฟาด) หรือหมายความว่า ทำให้ศัตรูปั่นป่วนนั่นเอง นอกจากนี้ ในแต่ละตำราก็ยังมีกรณีที่ถูกเขียนในทางตรงกันข้ามระหว่างประโยคที่ว่า จับไม่ได้ดั่งเงา กับ มั่นคงดั่งภูเขาอีกด้วย ทางคุณ โยชิโอะ ทาเคอุจิ นักวิชาการตะวันออก ได้กล่าวเอาไว้ว่า พอมาคิดถึงเนื้อแท้ของมันแล้ว ในประโยคท้ายที่ธงของซุนวู ก็ไม่มีประโยคที่ว่า จับไม่ได้ดั่งเงา